มะขาม Tamarind พืชสารพัดประโยชน์ นิยมกินผลมะขามเ็นอาหาร สรรพของมะขาม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงผิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะของต้นมะขามเป็นอย่างไร

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamardus lndica Linn  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล เป็นต้น มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคล พืชที่มีคำว่าขาม พ้องกับคำว่า น่าเกรงขาม จึงนิยมปลูกในบ้าน มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

ประโยชน์ของมะขามมีมากมาย เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง เป็นต้น

  • ลำต้นมะขาม ลำต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบมีเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ดอกจะออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลือง
  • ผลมะขาม ลักษณะผลเป็นฝักยาว รูปร่างโค้ง ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา ฝักแก่สีน้ำตาลเกรียม ภายในฝักมีเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมีรสเปรี้ยวหรือหวาน ภายในเนื้อฝักมีเมล็ดลักษณะแบนเป็นมันสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับการรับประทานมะขามเป็นอาหารสามารถรับประทานใบและเนื้อผลมะขาม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี

เนื้อฝักมะขามที่แก่จัดอุดมด้วยกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดทาร์ทาริก ( Tartaric Acid ) หรือ กรดมาลิก ( Malic Acid ) เป็นต้น คุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดี

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการนำมะขามมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบและผลมะขาม สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • ใบมะขาม สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค รักษาแผลเรื้อรัง
  • เนื้อผลของมะขาม สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิว ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับน้ำนม สำหรับสตรีหลังคลอด
  • เปลือกของผลมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผล

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขามมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม ดังนี้

  • มะขามมีความเป็นกรด หากมีบาดแผลและโดยเนื้อมะขาม อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบได้
  • มะขามหากกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย การท้องเสียมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำเป็นอันตรายได้
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

มะขาม ( Tamarind ) ไม้ยืนต้น ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงผิว บำรุงหัวใจ ยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย ไม้ผลในเขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปแอฟริกามะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขาม

มะขาม  มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn  ชื่ออื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ขามหวานมีหลายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง

ต้นมะขาม จัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม

มะขาม เป็นผลไม้ มีผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือกเมื่อแก่ (maturity) เป็นประเภทผลแห้ง (dry fruit) ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด ซึ่งฝักหนึ่งๆ จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดประมาณ 1-12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล มะขามในประเทศไทยแบ่งกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • มะขามเปรี้ยว (sour tamarind)
  • มะขามหวาน (sweet tamarind) ได้แก่ หมื่นจง สีทอง ศรีชมภู อินทผลัม น้ำผึ้’

ลักษณะของฝักมะขาม

  • ฝักดาบ มีลักษณะฝักค่อนข้างแบนและโค้งเล็กน้อยคล้ายดาบ
  • ฝักฆ้อง มีลักษณะฝักโค้งวนมาเกือบจรดกัน มีลักษณะเหมือนฆ้องวง
  • ฝักดิ่ง มีลักษณะฝักเหยียดตรงค่อนข้างยาว
  • ฝักดูก มีลักษณะเป็นปล้องๆ ข้อถี่ เปลือกนูนขึ้นมาเป็นเหลี่ยมมองเห็นได้ชัดเจน

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะขาม

การนำเอามะขามมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร นิยมนำมะขามมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางใช้บำรุงผิว  สรรพคุณอื่นๆ มากมายประกอบด้วย

  • ใบมะขาม มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ นำใบสดมาต้มน้ำอาบหลังคลอด ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย
  • เนื้อผลของมะขาม มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ขับน้ำนม
  • เปลือกของผลมะขาม นำมาทำยาฝาดสมาน เพราะในเปลือกมีสารพวกแทนนินสูง

สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ความเชื่อเกี่ยวกับมะขาม

มะขาม มีความหมายไปในทางดี คำว่า “ขาม” หมายถึง ความคร้ามเกรง ชาวไทยจึงนิยมปลูกต้นมะขามในบริเวณบ้าน เพื่อให้ศัตรูเกิดความเกรงขาม ไม่กล้าเข้ามาทำอันตราย ดังบทกลอน ในตำราปลูกต้นไม้ในบ้าน กล่าวไว้ว่า

“มะขามคุ้มไพรี ให้ปลูกไว้ปัจฉิมา” หมายความว่า มะขามคุ้มครองเจ้าของบ้านจากศัตรูได้ ให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของตัวบ้าน

ต้นมะขาม  เป็น ไม้ผล ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกลำต้นจะมีสีน้ำตาล แตกสะเก็ดเป็นร่อง ใบของมะขามจะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ปลายของใบและโคนใบมนมีสีเขียว ดอกของมะขามออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ผลของมะขาม จะเป็นฝักกลมเล็กยาว

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น