ถั่วแดง ( Kidney bean ) สมุนไพร โปรตีนสูง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์และถั่วแดง ช่วยขับพิษ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก

ถั่วแดง ถั่วแดงหลวง ประโยชน์ของถั่วแดง สมุนไพร

ต้นถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งถั่วแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้เป็นอาหารแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี  สำหรับประเทศไทยปลูกถั่วแดง มากในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ถั่วแดงในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถั่วแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดย ประโยชน์ของถั่วแดง นั้นส่วนใหญ่คนนิยมนำถั่วแดง มาทำอาหาร ประเภทขนม เป็น เมนูถั่วแดง เช่น ถั่วแดงกวน ขนมปังไส้ถั่วแดง น้ำถั่วแดง เค้กชาเขียวถั่วแดง วุ้นถั่วแดงกวน โดรายากิ ซุปถั่วแดง ถั่วแดงอัดเม็ด เป็นต้น แต่ ประโยชน์ของถั่วแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ระบบการย่อยอาหาร และใช้บำรุงร่างกาย  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้นถั่วแดง และ สรรพคุณของถั่วแดง การปลูกถั่วแดง ว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ เราจะได้รู้จักกับถั่วแดงไปพร้อมกัน

ถั่วแดง หรือ ถั่วแดงหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ถั่วแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phasecolus vulgaris L. เป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง อาทิ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วบ้านนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็น พืชล้มลุก จัดเป็น พืชคลุมดิน มีความสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดียว เรียงสลับกันตามลำต้น ใบลักษณะรูปรี มีสีเขียว ดอกเป็นช่อ สีขาว และผลมีลักษณะยาว เหมือนถั่วฝักยาว ภายในมีเมล็ด เป็นสีแดงอมม่วง การขยายพันธ์ของต้นถั่วแดงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด จัดว่าเป็นพืชอายุสั้น

คุณค่าทางอาหารของถั่วแดง

จากศึกษา ประโยชน์ด้านอาหารของถั่วแดง พบว่าในเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม การใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วแดง

สำหรับ การใช้ประโยชน์ของถั่วแดง ด้านการรักษาโรคนั้น จะใช้การรับประทานเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยกำจัดหนอง ช่วยลดคันตามผิวหนัง ป้องกันอาการเหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยสร้างภูมิกันร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอุณหภมูิในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนักตัว ช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดบุตรก่อนกำหนด

ประวัติของถั่วแดงหลวง

สำหรับ ประวัติการปลูกถั่วแดงในประเทศไทย เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น จึงได้แนะนำให้ชาวเขาปลูกถั่วแดง ซึ่งเป็นพันธ์ถั่วแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถั่วแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ของภาดเหนือของไทย ถัวแดง จึงถูกเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่ง ว่า “ถั่วแดงหลวง” เพราะเป็นพืชพระราชทานให้ปลูก

การปลูกถั่วแดง
สำหรับ การปลูกถั่วแดง ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกถั่วแดง คือ พื้นที่ราบ ระดับความสูงประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร ถั่วแดงชอบดินร่วนเหนียว เป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม
  • สำหรับฤดูการปลูกถั่วแดง ที่เหมาะสมนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ก.ค.-ส.ค. ช่วงปลายฤดูฝน พ.ย.-ธ.ค. และ ช่วงฤดูหนาว พ.ย.-ก.พ.
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกถั่วแดง ให้ขุดดินให้ร่วนซุย ทำร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน กำจัดวัชพืชให้หมด
  • การปลูกถั่วแดง ให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซ็นติเมตร ในหนึ่งหลุมหยอด ประมาณ 2 ถึง 3 เมล็ด ต่อหลุม หมั่นรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช สำหรับการให้น้ำ ให้ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ต่อครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวถั่วแดง สามารเก็บเกี่ยวถั่วแดงได้หลังจาก 60 วันไปแล้ว ฝักของถั่วแดงที่แก่และแห้งสามารถนำไปสีเอาเมล็ดไปใช้ประโยชน์ได้

ถั่วแดงกับการลดความอ้วน

เหตุผลใด ถั่วแดง จึงมีประโยชน์ต่อ การลดน้ำหนัก ถั่วแดงจะมีโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากถั่วแดง เป็นโปรตีน ที่มีลักษณะเด่น คือ ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย และทำให้อิ่มท้อง ไม่ยากรับประทานอาหาร และไม่รู้สกเหนื่อย นอกจากนั้นถั่วแดงช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ประโยชน์เช่นนี้ ช่วยให้ระบบร่างกายลดน้ำหนักได้แบบธรรมชาติ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร พืชที่มีโปรตีนสูง การปลูกถั่วแดง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์ของถั่วแดง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) สมุนไพรตระกูลถั่ว ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย รักษาแผล ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาหนองใน ลดความดัน ต้นขี้เหล็กเทศเป็นอย่างไรขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจ

สมุนไพร สำหรับวันนี้ ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด

หากจะกล่าวถึง ขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่

ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ

สำหรับ ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ต้นแลใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี

จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ

ต้นขี้เหล็กเทศ เป็น พืชล้มลุก อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของขี้เหล็กเทศ ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
  • ใบของต้นขี้เหล็กเทศ เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่
  • ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง
  • ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล

สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ

การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน
  • เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน
  • ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขี้หล็กเทศ

เนื่องจากขี้เหล็กเทศมีพิษ ซึ่งต้องกำจัดพิษของขีเหล็กเทศก่อน โดยพิษของขี้เหล็กเทศมีโปรตีนที่เป็นพิษ โดยการกำจัดพิษ สามารถทำได้โดยการนำเมล็ดไปคั่วจนเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอมเสียก่อน หากไม่กำจัดพิษ หรือกำจัดพิษไม่หมด จะมีอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง ให้รีบล้างท้องและนำส่งแพทย์โดยด่วน

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) พืชตระกูลถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ บำรุงร่างกาย รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน ลดความดันโลหิต ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove