ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นผักสด ต้นผักแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม ชขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก

จาก สรรพคุณของผักแพว ข้างต้น ทำให้ผักแพวเป็น ผักสมุนไพร ที่น่าทำความรู้จักกันอย่างละเอียด ผักแพว นิยมรับประทานในกลุ่ม คนภาคเหนือและอีสาน เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อน ทานคู่กับลาบ ซุปหน่อไม้ หรือน้ำพริก ทำให้รสชาติตัดกัน เข้ากันได้อย่างดี

ผักแพว ภาษาอังกฤษ เรียก Vietnamese Coriander มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Polygonum odoratum Lour. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับไผ่ สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักแพว คือ พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์  ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ  ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า หอมจันทร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว

นักโภชนาการได้ศึกษาผักแพว ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น น้ำ 89.4 กรัม
กากใยอาหาร 1.9 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม แคลเซียม 573 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 8,112 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 77 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว

ผักแพว เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ขนาดลำต้นมีเล็ก ทรงกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะรากของผักแพว เป็นรากฝอยแตกออกจากเหง้า ใบของผักแพว เป็นใบเดี่ยว ใบยาวทรงกระบอก ปลายแหลม มีกลิ่นหอม ผิวใบเรียบ เป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ดอกของผักแพว ออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ดอกตูม สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่จะมีสีขาว เมล็ดของผักแพว เมล็ดมีขนาดเล็ก แก่เร็ว และร่วงง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักแพว

ผักแพว สามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น ใบ และราก รายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้น และใบของผักแพว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล
    มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก
  • รากของผักแพว ใช้รักษาแผลติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง

การเลือกซื้อผักแพว

ผักแพว ที่ดี ต้องสด การเลือกซื้อให้สังเกตุความสดของใบ ไม่เหี่ยว ไม่เหลือง ส่วนการเก็บรักษาผักแพว เก็บใส่ในถุงพลาสติกปิดให้สนิท หรือเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักสด ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักแพว คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ประโยชน์ของผักแพว สรรพคุณของผักแพว ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักขวง สะเดาดิน ( sweetjuice ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นสะเดาดินเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ลดไข้ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้โรคผิวหนัง

สะเดาดิน ผักขวง สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาดิน

ผักขวง หรือ สะเดาดิน ผักพื้นบ้าน สมุนไพรไทย นำมาทำอาหาร ลวกกินกับน้ำพริก สรรพคุณ แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ

ผักขวง สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง ก็คือชื่อเรียกของของ สมุนไพรไทย ภาษาอังกฤษ เรียก sweetjuice เป็นพืชล้มลุก สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glinus oppositifolius A. DC. สะเดาดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีใน พื้นที่ชุ่มนำ

ลักษณะของต้นสะเดาดิน

สะเดาดิน เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเตี้ย เลื้อยคลุมดิน ลักษณะใบ มีขนาดเล็ก เรียวยาว สีเขียวสด ในหนึ่งก้านมีประมาณ 4-5 ใบ ดอกของสะเดาดิน จะออกดอกรอบๆข้อของลำต้น ดอกมีสีขาวอมเขียว ผลของสะเดาดิน เป็นผลยาวรี  สะเดาดินสามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด

  • ลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
    สะเดาดิน
  • ใบผักขวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
  • ดอกผักขวง ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
  • ผลผักขวง ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาดิน

นักโภชนาการได้ศึกษาสะเดาดิน ขนาด 100 กรัม ให้คุณค่าทางอาหาร 34 กิโลแคลลอรี่ คาร์โปไฮเดรต 4.4 กรัม ใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม แคลเซียม 94 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.45 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 2.7 มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของสะเดาดิน

การนำสะเดาดินมาใช้ประโยชน์ สามารถนำทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ รายละเอียด ดังนี้ คือ  นำมาทำเป็นยาบำรุงธาตุ แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ

  1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ โดยใช้ทั้งต้น
  2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก โดยใช้ทั้งต้น
  3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง โดยใช้ทั้งต้น
  4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ โดยใช้ทั้งต้น
  5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน โดยใช้ทั้งต้น
  6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู โดยใช้ทั้งต้น
  7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย โดยใช้ทั้งต้น
  8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี โดยใช้ทั้งต้น
  9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ โดยใช้ทั้งต้น
  10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ โดยใช้ทั้งต้น

สะเดาดินช่วยลดไข้ได้ เราจึงขอแนะนำ สมุนไพรสรรพคุณช่วยลดไข้ อื่นๆได้ มีดังนี้

เก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก๊กฮวย ประโยชน์ขอเก๊กฮวยเก๊กฮวย
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สรรพคุณของโด่ไม่รุ้ล้มโด่ไม่รู้ล้ม
กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี ประโยชน์ของดีปลีดีปลี
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
บอระเพ็ด สมุนไพร สรรพคุณของบอระเพ็ด ประโยชน์ของบอระเพ็ดบอระเพ็ด

ผักขวง สะเดาดิน ( sweetjuice ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ประโยชน์ของสะเดาดิน สรรพคุณของสะเดาดิน แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนใน แก้อาการปวดหู ยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ ต้นสะเดาดินเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักขวงมีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove