ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาและสรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน พบมากในจังหวัดนครปฐม วิตามินซีและแคลเซียมสูงส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของส้มโอ

ต้นส้มโอ ชื่อสามัญ Pomelo ( Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ในภาษาดัตซ์ ซึ่งแปลว่า “ ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ” ) ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus maxima (Burm.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

ประโยชน์ของส้มโอ

ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

นักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ ใช้ขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ส้มโอมีวิตามินซี และแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้ดี
  • เปลือกของผลส้มโอ นำมาใช้ ขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ นำมาต้มและพอกหัว บรรเทาอาการปวดหัว นำใบมาใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สามารถนำมาแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สามารถใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและรักาาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งหากเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และ ไม่ควรรับประทานเปลือกส้มโอแบบสดๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้
  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูก และฟัน ส้มโอพบมาก ในจังหวัดนครปฐม ส้มโอมีวิตามินซีและแคลเซียมสูง

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษากระเพาะอักเสบ แก้ท้องเสีย ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทยจะพบการปลูกกล้วยมากมายกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษ เรียก Cavendish banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa sapientum Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า เป็น ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง

กล้วยน้ำว้ากับสังคมไทย

กล้วยกับสังคมไทยเป็นพืชคู่ครอบครัวทุกครัวเรือน งานแต่งงานในประเพณีไทย ต้องมีต้นกล้วยเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งขันหมาก ทุกบ้านในประเทศไทยนิยมปลูกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้นเลย ใบกล้วย หงวกกล้วย หัวปลี ผลกล้วย สำหรับด้านอาหาร กล้วยน้ำว้า สามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก กล้วยหนึ่งต้นจะให้ผลครั้งเดียวจากนั้นจะตาย การขยายพันธุ์ของกล้วย ใช้การแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการบริโภคกล้วยเป็นอาหาร สามารถใช้ประโยชน์จากผลกล้วย และ ปลีกล้วย ซึ่งจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกล้วยน้ำว้า ขนาด 100 กรัม พบว่า สามารถให้พลังงาน 85 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม เถ้า 0.8 กรัม แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม และไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย การนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยน์ทางสมุนไพร สามารถนำ ผล หัวปลี และหยวกกล้วย มาใช้ได้ ดังนี้

  • ผลดิบของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน แก้ท้องเสีย
  • ผลสุกของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน เป็นยาระบาย
  • ยางของกล้วยน่ำว้า สามารถทำมาทาแผล ใช้เป็นยาสมานแผลห้ามเลือดได้ดี
  • หัวปลี นำมารับประทาน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเบาหวานได้

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง สมุนไพร พืชสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทย จึงพบเห็นการปลูกกล้วยอยู่มากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove