ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ถั่วแดง ( Kidney bean ) สมุนไพร โปรตีนสูง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์และถั่วแดง ช่วยขับพิษ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก

ถั่วแดง ถั่วแดงหลวง ประโยชน์ของถั่วแดง สมุนไพร

ต้นถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งถั่วแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้เป็นอาหารแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี  สำหรับประเทศไทยปลูกถั่วแดง มากในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ถั่วแดงในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถั่วแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดย ประโยชน์ของถั่วแดง นั้นส่วนใหญ่คนนิยมนำถั่วแดง มาทำอาหาร ประเภทขนม เป็น เมนูถั่วแดง เช่น ถั่วแดงกวน ขนมปังไส้ถั่วแดง น้ำถั่วแดง เค้กชาเขียวถั่วแดง วุ้นถั่วแดงกวน โดรายากิ ซุปถั่วแดง ถั่วแดงอัดเม็ด เป็นต้น แต่ ประโยชน์ของถั่วแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ระบบการย่อยอาหาร และใช้บำรุงร่างกาย  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้นถั่วแดง และ สรรพคุณของถั่วแดง การปลูกถั่วแดง ว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ เราจะได้รู้จักกับถั่วแดงไปพร้อมกัน

ถั่วแดง หรือ ถั่วแดงหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ถั่วแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phasecolus vulgaris L. เป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง อาทิ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วบ้านนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็น พืชล้มลุก จัดเป็น พืชคลุมดิน มีความสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดียว เรียงสลับกันตามลำต้น ใบลักษณะรูปรี มีสีเขียว ดอกเป็นช่อ สีขาว และผลมีลักษณะยาว เหมือนถั่วฝักยาว ภายในมีเมล็ด เป็นสีแดงอมม่วง การขยายพันธ์ของต้นถั่วแดงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด จัดว่าเป็นพืชอายุสั้น

คุณค่าทางอาหารของถั่วแดง

จากศึกษา ประโยชน์ด้านอาหารของถั่วแดง พบว่าในเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม การใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วแดง

สำหรับ การใช้ประโยชน์ของถั่วแดง ด้านการรักษาโรคนั้น จะใช้การรับประทานเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยกำจัดหนอง ช่วยลดคันตามผิวหนัง ป้องกันอาการเหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยสร้างภูมิกันร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอุณหภมูิในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนักตัว ช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดบุตรก่อนกำหนด

ประวัติของถั่วแดงหลวง

สำหรับ ประวัติการปลูกถั่วแดงในประเทศไทย เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น จึงได้แนะนำให้ชาวเขาปลูกถั่วแดง ซึ่งเป็นพันธ์ถั่วแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถั่วแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ของภาดเหนือของไทย ถัวแดง จึงถูกเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่ง ว่า “ถั่วแดงหลวง” เพราะเป็นพืชพระราชทานให้ปลูก

การปลูกถั่วแดง
สำหรับ การปลูกถั่วแดง ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกถั่วแดง คือ พื้นที่ราบ ระดับความสูงประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร ถั่วแดงชอบดินร่วนเหนียว เป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม
  • สำหรับฤดูการปลูกถั่วแดง ที่เหมาะสมนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ก.ค.-ส.ค. ช่วงปลายฤดูฝน พ.ย.-ธ.ค. และ ช่วงฤดูหนาว พ.ย.-ก.พ.
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกถั่วแดง ให้ขุดดินให้ร่วนซุย ทำร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน กำจัดวัชพืชให้หมด
  • การปลูกถั่วแดง ให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซ็นติเมตร ในหนึ่งหลุมหยอด ประมาณ 2 ถึง 3 เมล็ด ต่อหลุม หมั่นรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช สำหรับการให้น้ำ ให้ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ต่อครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวถั่วแดง สามารเก็บเกี่ยวถั่วแดงได้หลังจาก 60 วันไปแล้ว ฝักของถั่วแดงที่แก่และแห้งสามารถนำไปสีเอาเมล็ดไปใช้ประโยชน์ได้

ถั่วแดงกับการลดความอ้วน

เหตุผลใด ถั่วแดง จึงมีประโยชน์ต่อ การลดน้ำหนัก ถั่วแดงจะมีโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากถั่วแดง เป็นโปรตีน ที่มีลักษณะเด่น คือ ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย และทำให้อิ่มท้อง ไม่ยากรับประทานอาหาร และไม่รู้สกเหนื่อย นอกจากนั้นถั่วแดงช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ประโยชน์เช่นนี้ ช่วยให้ระบบร่างกายลดน้ำหนักได้แบบธรรมชาติ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร พืชที่มีโปรตีนสูง การปลูกถั่วแดง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์ของถั่วแดง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove