เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis อาการปวดท้อง มีไข้ อาเจียน กระหายน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ หัวใจเต้นเร็ว การรักษาช่องท้องอักเสบทำอย่างไร

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคในช่องท้อง โรค โรคไม่ติดต่อ

ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก peritonisis คือ การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางๆที่ปกคลุมผนังช่องท้องด้านในและคลุมอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด สำหรับสาเหตุของการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องมักเกิดจากการติดเชื้อโรคจากการฉีกขาดของเนื้อเย่ือในช่องท้อง

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ คือ ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลต่อช่องท้อง เช่น โรคตับแข็ง โรคท้องมาน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคในช่องเชิงกราน ไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้บิด ลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ อุบัติเหตุ การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

สาเหตุของการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

สำหรับสาเหตุของการเกิดจากการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ คือ การมีน้ำในช่องท้อง การล้างไตทางหน้าท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ ไส้ติ่งแตก ช่องเชิงกรานอักเสบ หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อช่องท้อง โดยสาเหตุของการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียดดังนี้

สาเหตุการอักเสบช่องท้องที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • การที่อวัยวะภายในช่องท้องอักเสบติดเชื้อ โดยหากอวัยวะที่ถูกหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้เยื่อบุช่องท้องบริเวณใกล้เคียงเกิดการอักเสบไปด้วย ซึ่งก็จะเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ การเกิดไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการผ่าตัด ไส้ติ่งก็จะแตกและทำให้เกิดการอัก เสบของเยื่อบุช่องท้องทั่วช่องท้องได้ หรือการอักเสบของลำไส้ส่วนที่พองเป็นกระเปาะชนิดเป็นมาแต่กำเนิด เรียกว่า Meckel’s diverticulitis ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน (แต่โรคMeckel’s นี้เป็นโรคพบได้น้อย)
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการทะลุของช่องทางเดินอาหาร โดยช่องทาง เดินอาหารทุกตำแหน่งสามารถเกิดการทะลุได้ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในช่องทางเดินอาหารเหล่านั้น (แบคทีเรียประจำถิ่น หรือ Normal flora) ออกมาอยู่ในช่องท้อง และแบคทีเรียเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องขึ้น
  • การติดเชื้อที่เกิดจากเยื่อบุช่องท้องฉีกขาด โดยที่ทางเดินอาหารไม่ ได้ฉีกขาด เช่น การถูกแทงด้วยมีดและของแหลมคมต่างๆ ทะลุผ่านหน้าท้อง เชื้อโรคจากสิ่งของภายนอกนั้นๆ และจากผิวหนังจะผ่านเข้าสู่ช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบขึ้นมา ทั้งนี้การผ่าตัดหน้าท้องที่ไม่สะอาด ก็อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องท้องได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง เรียกว่า Spontaneous bacterial peritonitis หรือเรียกว่า Primary peritonitis โดยส่วนใหญ่จะพบในคนที่เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งจะทำให้มีน้ำในช่องท้อง โดยช่องทางที่เชื้อแบคทีเรียเข้ามาและทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบนั้นไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะตับที่เป็นโรคนี้ สูญเสียหน้าที่การกรองเชื้อโรคในเลือดจากหลอดเลือดที่เดินทางมาจากลำไส้เพื่อเข้าสู่ตับ ร่วม กับน้ำในช่องท้องที่มีอยู่ในผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่การมีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย หรือโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephrotic syndrome ก็สามารถทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้เช่น กัน เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ Spontaneous bacterial peritonitis มักจะเกิดจากเชื้อเพียงชนิดเดียวเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการทะลุของช่อง ทางเดินอาหารที่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดร่วมกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการฟอกไตด้วยวิธีผ่านทางช่องท้อง โดยผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องฟอกเลือดผ่านการเจาะสายเข้าช่องท้อง เชื้อโรคจากผิวหนังอาจเข้าช่องท้องผ่านมากับสายท่อที่ใช้เจาะ หรือเชื้อโรคอาจปนเปื้อนมากับน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไตก็ได้
  • การติดเชื้อที่เกิดจากร่างกายมีการติดเชื้อบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดวัณโรค สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้เกือบทุกอวัยวะ รวมทั้งเยื่อบุช่องท้องด้วย

สาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อ

  • เลือด อาจมาจากการเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องรุนแรงที่ทำให้ตับ หรือม้ามแตก เลือดจึงไหลเข้าช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ หรืออาจเกิดจากมีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ของรังไข่ (เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่) หรือเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในช่องท้องน้อย เมื่อเกิดการแตกของซีสต์ หรือเยื่อบุ จะทำให้เลือดออกมาอยู่ในช่องท้องน้อยและเกิดการอักเสบตามมาได้
  • น้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาหาร ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้างต้น หากกระเพาะอาหารเกิดการทะลุในช่วงที่มีปริมาณน้ำย่อยมาก ความเป็นกรดของน้ำย่อยจะทำลายเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ แต่ความเป็นกรดของน้ำย่อยเองจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุได้
  • น้ำย่อยจากตับอ่อน ในกรณีตับอ่อนเกิดการอักเสบ หรือเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องที่รุนแรงจนตับอ่อนแตก น้ำย่อยก็จะไหลเข้าสู่ช่องท้องและทำให้เยื่อบุช่องท้องอัก เสบได้
  • น้ำดี โดยถุงน้ำดีอาจเกิดแตกทะลุจาก มีนิ่วในถุงน้ำดี จากโรคถุงน้ำดีอักเสบ หรือจากโรคมะเร็งถุงน้ำดี โดยปกติน้ำดีจะไม่มีแบคทีเรีย แต่องค์ประกอบของน้ำดีสามารถทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้
  • ปัสสาวะ โดยการเกิดอุบัติเหตุกระแทกบริเวณท้องน้อยที่รุนแรงจนทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาด น้ำปัสสาวะจึงไหลเข้าสู่ท้องน้อย และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุท้องน้อยได้

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จะแสดงอาการปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอาการต่างๆของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบต้องระวังภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ และ ภาวะการเกิดพังพืดในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้ลำไส้อุดตันจนเกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ สามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเลือดและตรวจการทำงานของไต รวมถึงการทำอัลตราซาวน์ตรวจดูภายในช่องท้อง

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเยื่อบุช่องท้องอักสบ สามารถรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งต้องตรวจหาเชื้อโรคก่อนว่าเกิดจากเชื้อโรคอะไร และต้องงดการดื่มน้ำ งดอาหาร และประคับประครองตามอาการต่างๆ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน การให้สารอาหารทางน้ำและเกลือแร่

การป้องกันการเกิดโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรค สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบี และแคลเซี่ยม โปรตีนที่มาจากถั่ว เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดง
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง และน้ำตาล
  • งดชา กาแฟและสุรา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่สามารถเกิดอุบัติเหตุที่กระแทอกย่างรุนแรง

โลหิตเป็นพิษ เกิดจากมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายอักเสบ อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย แนวทางการรักษาต้องหาเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด

โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคติดเชื้อ

โลหิตเป็นพิษ หมายถึง ภาวะร่างกายติดเชื้อโรคหรือได้รับสารพิษ ซึ่งเชื่อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เนื่องจากโลหิตที่มีพิษไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นอาการที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเจ็บและปวดทั่วร่างกาย จัดว่าเป็นดรคที่มีความอันตรายมากโรคหนึ่ง

สาเหตุของโลหิตเป็นพิษ

ภาวะโลหิตเป็นพิษเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษ และ เชื้อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต จึงแสดงอาการต่างๆออกมา ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษนั้น มีหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เราสามารถจำแนกปััจัยของการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การรับประทานยา ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การเกิดแผล การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น
  • ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุซึงกลุ่มอายุน้อยและกลุ่มอายุมาก ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดง่ายกว่าคนในกลุ่มปรกติวัยเจริญพันธ์

อาการภาวะโลหิตเป็นพิษ 

ผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ ลักษณะอาการจะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการสาเหตุของการติดเชื้อ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ ซึ่งการรักษาต้องเริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อก่อนจากนั้นจึงใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ แนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

หากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อเลือดที่มีพิษเข้าสู่อวัยวะต่างๆ สามารถทำให้เกิดการทำงานล้มเหล้วของอวัยวะนั้นๆได้ เช่น ปอดอักเสบเฉียบพลัน สมองอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ หัวใจอักเสบ หลอดดเลือดอักเสบ ซึ่งอาการต่างๆจะลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ไม่ลงไปแช่ในน้ำคลองที่สกปรก ไม่ลงไปเล่นโคลน แหล่งมลพิษทางอากาศ
  • สวมเครื่องมือป้องกัน เมื่อต้องทำกิจกรรมทีมีความเสียงเกิดอุบัตติเหตุ
  • หากเกิดแผลไม่ควรเปิดแผลสด ควรใช้ผ้าพันแผลปิดแผล เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคทางผิวหนัง
  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ปรุงสุก และ สะอาด
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น