ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ภาวะอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ปวดบวมข้อมือหรือโคนนิ้วหัวแม่มือ พบในคนทำงานออฟฟิตและสตรีวัยกลางคน
โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ เป็น กลุ่มอาการของโรคที่เกิดกับเอ็นและข้อมือ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ ที่อยู่บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ มีอาการปวด และ บวม มีอาการหนาตัวของเส้นเอ็น โรคนี้พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าเพศชาย และพบมากในคนช่วงอายุ 30 ถึง 50 ปี
อาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ นั้น จะมีชื่อเรียกต่างกันตามจุดที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น เช่น
- หากเกิดการอักเสบที่จ้อศอก เรียก โรคข้อศอกนักเทนนิส ( tennis elbow ) เป็น การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก พบมากใน นักกีฬาที่ใช้การตี ช่างไม้ และ ช่างทาสี เป็นต้น
- หากเกิดที่ข้อหัวไหล่ เรียก โรคข้อไหล่นักว่ายน้ำ ( swimmer’s shoulder ) เป็น การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณไหล่ พบบ่อยในนักกีฬาที่ใช้หัวไหล่มาก เช่น นักว่ายน้ำ นักเทนนิส และ นักยำน้ำหนักเป็นต้น
- หากเกิดอาการอักเสบที่ข้อมือ เรียก โรคเดอเกอร์แวง ( de Quervain’s disease ) หรือ โรคปลอกเอ็นหุ้มข้อมืออักเสบ เป็นอาการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้ม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต ที่ต้องใช้ข้อมือและนิ้วหัวแม่มือบ่อย
- หากเกิดที่นิ้ว เรียกว่า โรคนิ้วล็อก ( trigger finger ) เป็นอการอักเสบของเส้นเอ็นที่บังคับการงอของนิ้วมือ พบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องจับไม้แน่นๆ เช่น นักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ และคนทำสวน เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคปลอกหุ้มข้อมืออักเสบ
สำหรับสาเหตุของการอักเสบที่เส้นเอ็นและปลอกหุ้มข้อมือนั้น มักเกิดการใช้งานข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ หนักและไม่ถูกวิธี นอกจากนี้พบว่าเกิดจากอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ ทำงานหนัก หรือ การทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเอ็นที่ข้อมืออย่างหนักและซ้ำ อย่างเป็นประจำ
อาการของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ
สำหรับอาการที่พบ สำหรับผู้ที่ีมีอาการอักเสบที่เอ็นข้อมือ คือ จะมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ลักษณะเป็นๆหายๆ และบางครั้งเจ็บไปถึงข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น เมื่อต้องหยิบจับสิ่งของ และอาจมีอาการบวมตรงโคนนิ้ว จะปวดมากขึ้น ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือ การบิดเสื้อผ้า การยกขันน้ำ การกวาดพื้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายมีก้อนบริเวณข้อมือ
การรักษาอาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ
แนวทางการรักษาโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีการผ่าตัด และ การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาโดยการไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เช่น
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือ นิ้วมือ และกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือหยิบจับ
- ใส่เฝือกอ่อนเพื่อดามบริเวณโคนของนิ้วมือ เพื่อลอการเคลือนไหว อันเป็นสาเหตุของการเจ็บปวด
- ทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบ จะช่วยกดอาการเจ็บปวดลงได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
- การนวด โดยการประคบร้อนและการประคบเย็น จะช่วยให้ผ่อนคลายความปวด
การรักษาโดวิธีการผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลค่อนข้างดี แต่การผ่าตัดจะทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยการบ่งชี้ว่าต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีอาการปวดมาก ต้องเข้ารับการฉีดยาสเตียรอยด์ แต่อาการไม่ดีขึ้น โดยการผ่าตั้นนั้นแพทย์จะฉีดยาชา ใช้ยางยืดรัดแขน เพื่อห้ามเลือด ใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็น อยู่ให้แยกจากกัน และเย็บแผล หลังจากการผ่าตัด ต้องทำการล้างผลทุกวัน และตัดไหมภายใน 10 วัน และต้องพบแพทย์เพื่อตรวจทุก 1 ถึง 2 สัปดาห์ในระยะแรก
ภาวะแทรกซ้อนที่พบจากการรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบจากการผ่าตัด
- เกิดอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด และ เกิดพังผืดใหม่หลังผ่าตัด
- เกิดแผลเป็นคีลอยด์
- มีโอกาสเสี่ยงเกิดอันตรายต่อเส้นประสาท ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน
- เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ
- ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ที่จะทำให้ปว และเจ็บปวดเส้นเอ็น
- บริหารข้อมือเป็นประจำ และต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการใช้งานของข้ออย่างหนัก เพื่อป้องกันการเกิดการอักเสบอีกครั้ง
สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคข้อและกระดูก การอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ปวดบวม บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต พบมากในสตรีวัยกลางคน