มือเท้าปากเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยในเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณมือเท้าและปาก ไม่มียารักษาโรคโรคมือเท้าปาก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เป็น โรคติดต่อ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบมากในเด็ก เด็กป่วยเป็น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยบ่อย โรคนีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะมีอาการเป็นไข้ และมีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก อาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีเป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่โรคปากเปื่อยและเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสชื่อ coxsackie A16 และ Enterovirus 71

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของดรค และ ระยะเกิดซ้ำ

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ คือ

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

การรักษาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย

โรคนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโดยตรง สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการทั่วไป ผู้ป่วยต้องพักผ่อนมากๆ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ

การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคนี้
  2. ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด
  3. ไม่ใช้ภาชนะต่างๆร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้
  4. หลีกเลี้ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว และการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย

โรคมือเท้าปากเปื่อย ( Hand Foot Mouth Disease ) การติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยในทารกและเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง โรคมือเท้าปาก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรค

ไข้เลือดออก ติดเชื้อไวรัสเดงกี จากยุงลาย อาการมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีจุดแดงๆตามผิวหนัง อาเจียนเป็นมีเลือดปน แนวทางการรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไรโรคไข้เลือดออก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคจากยุง

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากยุงลาย เป็นพาหนะนำโรค โรคยุงลายจะพบได้เฉพาะในประเทศเขตร้อนชื้น ไข้เลือดออก ภาษาอังกฤษ เรียก Dengue hemorrhagic fever ไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลาย อาการไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ไข้เลือดออกเป็นอย่างไร ไม่อยากเป็น ไข้เลือดออก 

ไข้เลือดออก เรียกย่อๆ ว่า DHF ซึ่งมาจากคำว่า Dengue hemorrhagic fever เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ( Dengue virus ) ที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค โดยลักษณะอาการคล้ายไข้ไหวัดทั่วไปในระยะแรก แต่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น และหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

ระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกจัดเป็นโรคอันตรายที่สามารถมีโอกาสเกิดโรคได้ง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก นั้น สามารถแบ่งให้เห็นภาพอย่างชั้ดเจนได้ 4 ระดับ โดยรายละเอียดประกอบด้วย

  • ระดับที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีไข้ และอาการที่สามารถสังเกตุได้อย่างเด่นชัด คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนัง แต่ยังไม่แสดงอาการอื่นๆ ในระยะนี้ เหมือนการป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา
  • ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการ จ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกจากที่อื่น ๆ ด้วย เช่น การอาเจียนเป็นเลือด การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ในระยะนี้ ชีพจรและความดันเลือดของผู้ป่วยยังคงปรกติ
  • ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการช็อก เช่น มีอาการกระสับกระส่าย มีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เต้นเร็ว ระดับความดันต่ำ เริ่มอันตรายแล้วในระยะนี้
  • ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการช็อกอย่างรุนแรง ชีพจรเต้นเบา ความดันต่ำมีเลือดออกมาก เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก

ซึ่งระดับของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในระดับที่ 2 ถึง 4 นั้น จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ต้องมีการจับชีพชร วัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นของเลือด และตรวจเกล็ดเลือด เป็นระยะ ๆ

สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือด เกิดจากการที่ยุงลายตัวเมียไปกัดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออก เชื้อไวรัสแดงกีจะขยายตัวและอยู่ที่ต่อมน้ำลายของยุง และเมื่อยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกไปกัดคนก้จะแพร่เชื้อไข้เลือดออก ส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออกจะพบมากในเด็ก และเกิดในฤดูฝน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ยุงลายขยายพันธ์ง่าย

อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก มีอาการหลายอย่าง เริ่มจาก มีไข้สูง เป็นผื่น ปวดตามตัว ปวดศรีษะปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา หากรักษาช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งระยะของอาการไข่เลือดออกมี 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะไข้สูง ในระยะนี้ อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตาแดง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำ เบื่ออาหารและอาเจียน หลังจากนั้นในระยะ 1 ถึง 2 วัน จะเกิดอาการผิวหนังแดง บริเวณ ใบหน้า ลำคอ และ หน้าอก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ในวันที่ 3 จะมีผื่นแดงเหมือนหัด แต่ไม่มีอาการคัน ซึ่งผื่นนี้จะขึ้นตามแขนขา และลำตัว ในผุ้ป่วยบางรายจะพบลักษณะของผื่น เป็นจ้ำเลือด จุดแดงๆ ร่วมด้วย ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ และในช่องปาก หากอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเกิน 7 วันโดยไม่รักษา จะทำให้เข้าสู่ระยะอันตรายแล้ว คือ ระยะช็อกและมีเลือดออก
  • ระยะช็อกและมีเลือดออก ในระยะนี้ ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 3 และ 4 อาการมีไข้จะลดลง แต่อาการป่วยจะหนักขึ้น ซึมมากขึ้น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 วัน แต่หากสามารถผ่านระยะนี้ไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว
  • ระยะฟื้นตัว เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วง ร่างกายก็จะฟื้นเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มทานอาหารได้  ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก คือ การประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟู ประคับประคองการเกิดภาวะช็อค ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อก และ รรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งโรคไข้เลือดออก อาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

สำหรับการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รับประทานยาลดไข้ แต่หากพบอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ตัวเย็น และไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

การป้องกำจัดการเกิดไข้เลือดออก นั้นต้องป้องกันที่สาเหตุของแหล่งแพร่เชื้อ คือ ยุงลาย ต้องป้องกันไม่ให้มียุงลาย และ ไม้ยุงลายมากัดเราได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี แต่ก็ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ รายละเอียดของการป้องกันมีดังนี้

  • ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและกำจัดยุงลายและลูกน้ำ
  • พ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีราคาแพงและเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะในยามที่จำเป็นเท่านั้น โดยควรเลือกฉีดในช่วงเวลาที่มีคนอยู่อาศัยน้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (Diethyltoluamide – DEET) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุงที่มีชื่อว่าดีดีที (Dichlorodiphenyltrichloroethane – DDT) แต่สารนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าขึ้นชื่อว่าสารเคมีไม่ว่าจะเป็นยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุงก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ได้ทั้งนั้น ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวจึงควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นจึงห้ามฉีดลงบนผิวหนังโดยตรง และควรปฏิบัติตั
  • ตัดต้นไม้ที่รก ให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทดี
  • นอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่ติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว

โรคไข้เลือดออก ภาวะการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการผู้ป่วย มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีจุดแดงๆตามผิวหนัง อาเจียนเป็นมีเลือดปน วิธีรักษาโรค ลักษณะอาการ และ การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove