โรคหูดับ การติดเชื้อไวรัสที่หูจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โรคหูดับมีอาการสูญเสียการได้ยินข้างเดียว เกิดได้ทุกเพศทุกวัยโรคหูดับ โรคหู โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหูดับSudden Hearing Loss : SHL ) มักเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ช่วงอายุ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง รวมถึงผู้ที่ใส่หูฟังและเปิดเพลงเสียงดังๆ

หู เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้

สาเหตุของการเกิดโรคหูดับ

สำหรับสาเหตุของการเกิดหูดับ พบว่ามีสาเหตุ 4 ประการ หลักๆ คือ

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด โรคหูดับเกิดจากเชื้อไวรัส พบว่ามี 60% เป็นโรคหูดับจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะทำให้หูชั้นในอักเสบ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหูดับ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B ไวรัสซัยโตเมกาโล ไวรัสคางทูม รูบิโอลา ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสงูสวัส
  2. การขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็สามารถทำให้เกิดโรคหูดับ ได้
  3. ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดับ โรคในกลุ่มออโตอิมมูน เช่น โรคลูปัส อาจจะเกิดจากสภาวะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง
  4. การฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน การได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่าในบางรายเป็นโรคหูดับ จากความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ

สำหรับอาการที่พบสำหระบอาการหูดับ ในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยอาการของโรคหูดับนั้น สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
  • อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
  • อุจจาระร่วง/ท้องเสีย
  • มีอาการจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาจมีอาการติดเชื้อชนิดเป็นหนองที่ข้อ
  • มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ/หูหนวกทั้งสองข้าง

การรักษาโรคหูดับ

สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูประสาทหูให้กลับมาโดยเร็ว ระหว่างการพักผ่อนห้ามฟังเสียงดังๆ อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ หายได้เองประมาณ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยทั้งหมด หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็ให้ยาต้านไวรัส อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) และยาแก้อักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์

การป้องกันโรคหูดับ

โรคหูดับสามารถการป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังๆ สำหรับการป้องกันโรคหูดับนั้นควรปฏิบัติ ดังนี้

  • สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
  • ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
  • เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
  • กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
  • ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
  • ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ( Zoonotic infectious disease ) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน ไข้หูดับ เป็นโรคพบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาห กรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน

โรคหูดับ ภาวะติดเชื้อไวรัสที่หู เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน ส่วนมากโรคหูดับจะมีอาการสูญเสียการได้ยินเพียงข้างเดียว เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ

กาฬโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis จากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้นิ้วเน่าจากการขาดเลือดกาฬโรค โดนหมัดหนูกัด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

การติดเชื้อกาฬโรคในคน

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ วิธีรักษากาฬโรค

อาการของกาฬโรค

สำหรับอาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย Bubonic plague, Septicemic plague และ Pneumatic plague รายละเอียดของแต่ละกลุ่มอาการมีดังนี้

  • Bubonic plague  อาการชนิดนี้พบบ่อย อาการจะแสดงหลังจากถูกหมัดหนูกัด ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเข้าไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองจะแสดงอาการ บวม ถ้ากดจะรู้สึกเจ็บอาการปวดจะมากขึ้น และจะขยับแขน ขาไม่ได้ในเวลาต่อมา สังเกตุง่ายๆจาก ต่อมน้ำเหลืองโต กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • Septicemic plague อาการชนิดนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปในกระแสโลหิต จะทำให้ผู้ป่วย ไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก หนูก้น ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อค และนิ้วเน่า จากการขาดเลือด
  • Pneumatic plague อาการชนิดนี้พบไม่มากแต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการสูดเอาเชื้อโรคเช้าทางจมูก ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไ่ม่มีแรง ไอและมีเสมหะ เจ็บหน้าอก มีอาการอวก

การรักษากาฬโรค

สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาป้องกันเมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกาฬโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

โรคแทรกซ้อนของกาฬโรค

สำหระบโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค ประกอบด้วย นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวม การหายใจล้มเหลว โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกาฬโรค สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ และต้องรักษาสุขอนามัย ให้สะอาด และกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ให้มีหนูอยู่ในที่พัก การดูแลตนเอง และการป้องกันกาฬโรค ได้ดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

กาฬโรค ( Peapue ) โรคติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis เกิดจากโดนหมัดหนูกัด หนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยอาจช็อค และ นิ้วเน่าจากการขาดเลือด การรักษากาฬโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove