ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวาโรคไทฟอยด์ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อแบคทีเรีย

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ ภาษาอังกฤษ เรียก Typhoid fever เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผุ้ป่วยจะ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และเจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi ซึ่งเชื้อโรคก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ และทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนไปในอาหารรวมถึงน้ำดื่ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดโรค

การพัฒนาด้านสุขอนามัยในปัจจุบันทำให้การเกิดดรคนี้น้อยลง แต่ในประเทศหรือสิ่งแวดล้มที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการขับถ่าย จะมีอัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์สูง ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ อาหารไม่สะอาดและการขับถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย จะมีโอกาสเกิดดรคนี้สูง

อาการของโรคไทฟอยด์

สำหรับอาการของโรคไทฟอยด์ หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 7-14 วัน ผู้ป่วยจะ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้น จะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่นภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยา paracetamol ทาน 500 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคไทฟอยด์ นั้นสามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ซึ่งควรปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังลงลงอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค คือ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การรักษาไข้ไทฟอยด์

โรคซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ยังไม่มียารักษาโรค

โรคซาร์ส ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ
ซาร์ส หรือ SARS ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome หรือบางคนเรียกว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง คือ โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ SARS coronavirus โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2545 ติดต่อกันได้ง่าย จึงทำให้เกิดการระบาดไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกร่วม กับองค์การต่างๆ จึงได้พยายามควบคุมโรค และสามารถหยุดการระบาดได้ในปีต่อมาคือ พ.ศ.2546 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่พบการระบาดขึ้นมาอีก

สถานการณ์โรคซาร์สในปัจจุบัน

หลังจากวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 พบการติดเชื้อโรคซาร์สอีกครั้ง ในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนที่ประเทศจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการห้ามจำหน่าย และ บริโภคเนื้อชะมด และให้ทำลายชะมดกว่า 10,000 ตัว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่พบมีการกลับมาแพร่ระบาดของโรคซาร์สอีก

สาเหตุของการเกิดโรคซาร์ส

สาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะ (SARSโรคซาร์สนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ  ไวรัสในกลุ่ม “โคโรนาไวรัส” และ ไวรัสอยู่ในกลุ่ม “พาราไมโซไวรัส” สาเหตุของโรคซาร์ส ได้ถูกค้นพบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 จากการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทำให้ทราบว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส และการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสทำให้ทราบว่าเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มที่ชื่อว่า Coronaviridae ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดเป็นโรคหวัด หรืออาการทางระบบหายใจส่วนล่าง (ปอด และหลอดลม) ได้ แต่มักไม่รุนแรง สำหรับไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคซาร์สนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า SARS coronavirus (SARS-CoV)

อาการของผู้ป่วยโรคซาร์ส

โรคนี้ มีระยะของการเกิดโรคที่ ภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว แล้วจะตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง คือเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซาร์ส

  • ประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของผู้ป่วย ที่อยู่ในโรงพยาบาล จะมีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxia) และจำเป็นต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
  • ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่ ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ
  • สำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิต ในบางรายอาจพบว่า หากทดสอบการทำงานของปอดอาจยังมีผิดปกติบ้าง หรือหากเอกซเรย์ปอดยังพบความผิดปกติเล็กน้อย อยู่ได้นานถึงประมาณ 12 เดือน

การรักษาโรคซาร์ส

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ SARS ) หากพบว่าผู้ป่วยต้องสงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้หวัดมรณะ ต้องรีบรับนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อควบคุมาการระบาดของโรคและเฝ้าติดตามอาการ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ และไม่มีคำแนะนำที่แน่นอนในการเลือกใช้ยาสำหรับการรักษาโรคนี้ เพราะยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสซาร์สได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้แก้ปวด ให้ยาแก้ไอ ให้น้ำเกลือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (เช่น มีโรคประจำตัว) จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแยกผู้ป่วยอย่างรัดกุม
  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ร่างกายแข็งแรง อาจทำการแยกตัวโดยให้อยู่ที่บ้านได้ แต่ภายในบ้านต้องไม่มีเด็กอ่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งต้องมีห้องน้ำและห้องนอนแยกเป็นส่วนตัว และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอย่างเคร่งครัด เช่น การใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม และแยกทำความสะอาด แยกรับประทาน ส่วนขยะที่เกิดจากผู้ป่วยควรแยกถุงและแยกทิ้งแบบเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามให้ผู้ป่วยออกจากบ้าน โดยต้องหยุดงาน หยุดเรียน หยุดทำธุระต่าง ๆ รวมทั้งต้องมีการติดตามอาการและการปฏิบัติตัวจากเจ้าหน้าที่ทุกวัน เช่น การโทรศัพท์สอบถาม
  • เมื่ออาการต่าง ๆ ทั้งไข้ ไอ หายใจหอบ หรืออื่น ๆ หายสนิทไปแล้วจนครบ 10 วัน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงาน ไปเรียน และใช้ชีวิตตามปกติได้โดยไม่ต้องแยกห้อง

การป้องกันโรคไข้หวัดมรณะSARS )

ต้องปิดปากและจมูก สวมหน้ากากป้องกัน เชื้อโรคเช้าสู่ร่างกาย ดูแลสุขอนามัย ให้สะอาด ไม่ให้มีเชื้อโรค ในพื้นที่ที่มีการระบาดก็ได้มีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้ม งวด โดยมาตรการสำคัญคือ การแยกผู้ป่วยและผู้ที่มีประวัติสัมผัสโรค ในบางพื้นที่ต้องมีการสั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยนานนับเดือน รวมถึงโรงพยาบาลอีกหลายแห่งด้วย

  1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์สจะต้องมีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มงวด
  2. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์สจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส
  4. ดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรง โดยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

โรคซาร์ส ( SARS ) ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคติดเชื้อ พบครั้งแรกที่ประเทศจีน แพร่ระบาด ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา สหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน และ เยอรมนี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove