โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) อาการปวดท้อง ท้องอืด ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่ายอุจาระ หัวใจเต้นเร็ว ระวังภาวะแทรกซ้อน

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ปัจจัยที่มีผลให้ช่องท้องอักเสบ

สำหรับปัจจัยของการเกิดช่องท้องอักเสบ ประกอบด้วย ตับแข็ง โรคท้องมาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคในช่องเชิงกราน ไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้บิด ลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ อุบัติเหตุ การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง การล้างไตทางหน้าท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ ไส้ติ่งแตก ช่องเชิงกรานอักเสบ หรือ อุบัติเหตุ โดยสาเหตุของการอักเสบที่ช่องท้องสามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ การติดเชื้อ และ การไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียดดังนี้

สาเหตุการอักเสบช่องท้องที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • การที่อวัยวะภายในช่องท้องอักเสบติดเชื้อ โดยหากอวัยวะที่ถูกหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้เยื่อบุช่องท้องบริเวณใกล้เคียงเกิดการอักเสบไปด้วย ซึ่งก็จะเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ การเกิดไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการผ่าตัด ไส้ติ่งก็จะแตกและทำให้เกิดการอัก เสบของเยื่อบุช่องท้องทั่วช่องท้องได้ หรือการอักเสบของลำไส้ส่วนที่พองเป็นกระเปาะชนิดเป็นมาแต่กำเนิด เรียกว่า Meckel’s diverticulitis ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน (แต่โรคMeckel’s นี้เป็นโรคพบได้น้อย)
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการทะลุของช่องทางเดินอาหาร โดยช่องทาง เดินอาหารทุกตำแหน่งสามารถเกิดการทะลุได้ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในช่องทางเดินอาหารเหล่านั้น (แบคทีเรียประจำถิ่น หรือ Normal flora) ออกมาอยู่ในช่องท้อง และแบคทีเรียเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องขึ้น
  • การติดเชื้อที่เกิดจากเยื่อบุช่องท้องฉีกขาด โดยที่ทางเดินอาหารไม่ ได้ฉีกขาด เช่น การถูกแทงด้วยมีดและของแหลมคมต่างๆ ทะลุผ่านหน้าท้อง เชื้อโรคจากสิ่งของภายนอกนั้นๆ และจากผิวหนังจะผ่านเข้าสู่ช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบขึ้นมา ทั้งนี้การผ่าตัดหน้าท้องที่ไม่สะอาด ก็อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องท้องได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง เรียกว่า Spontaneous bacterial peritonitis หรือเรียกว่า Primary peritonitis โดยส่วนใหญ่จะพบในคนที่เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งจะทำให้มีน้ำในช่องท้อง โดยช่องทางที่เชื้อแบคทีเรียเข้ามาและทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบนั้นไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะตับที่เป็นโรคนี้ สูญเสียหน้าที่การกรองเชื้อโรคในเลือดจากหลอดเลือดที่เดินทางมาจากลำไส้เพื่อเข้าสู่ตับ ร่วม กับน้ำในช่องท้องที่มีอยู่ในผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่การมีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย หรือโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephrotic syndrome ก็สามารถทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้เช่น กัน เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ Spontaneous bacterial peritonitis มักจะเกิดจากเชื้อเพียงชนิดเดียวเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการทะลุของช่อง ทางเดินอาหารที่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดร่วมกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการฟอกไตด้วยวิธีผ่านทางช่องท้อง โดยผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องฟอกเลือดผ่านการเจาะสายเข้าช่องท้อง เชื้อโรคจากผิวหนังอาจเข้าช่องท้องผ่านมากับสายท่อที่ใช้เจาะ หรือเชื้อโรคอาจปนเปื้อนมากับน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไตก็ได้
  • การติดเชื้อที่เกิดจากร่างกายมีการติดเชื้อบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดวัณโรค สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้เกือบทุกอวัยวะ รวมทั้งเยื่อบุช่องท้องด้วย

สาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อ

  • เลือด อาจมาจากการเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องรุนแรงที่ทำให้ตับ หรือม้ามแตก เลือดจึงไหลเข้าช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ หรืออาจเกิดจากมีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ของรังไข่ (เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่) หรือเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในช่องท้องน้อย เมื่อเกิดการแตกของซีสต์ หรือเยื่อบุ จะทำให้เลือดออกมาอยู่ในช่องท้องน้อยและเกิดการอักเสบตามมาได้
  • น้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาหาร ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้างต้น หากกระเพาะอาหารเกิดการทะลุในช่วงที่มีปริมาณน้ำย่อยมาก ความเป็นกรดของน้ำย่อยจะทำลายเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ แต่ความเป็นกรดของน้ำย่อยเองจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุได้
  • น้ำย่อยจากตับอ่อน ในกรณีตับอ่อนเกิดการอักเสบ หรือเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องที่รุนแรงจนตับอ่อนแตก น้ำย่อยก็จะไหลเข้าสู่ช่องท้องและทำให้เยื่อบุช่องท้องอัก เสบได้
  • น้ำดี โดยถุงน้ำดีอาจเกิดแตกทะลุจาก มีนิ่วในถุงน้ำดี จากโรคถุงน้ำดีอักเสบ หรือจากโรคมะเร็งถุงน้ำดี โดยปกติน้ำดีจะไม่มีแบคทีเรีย แต่องค์ประกอบของน้ำดีสามารถทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้
  • ปัสสาวะ โดยการเกิดอุบัติเหตุกระแทกบริเวณท้องน้อยที่รุนแรงจนทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาด น้ำปัสสาวะจึงไหลเข้าสู่ท้องน้อย และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุท้องน้อยได้

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ผู้ป่วยจะปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ ช็อคจากโลหิตเป็นพิษ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปสร้างสารพิษ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ อันตรายถึงชีวิต การแข็งตัวของเลือด เกิดพังพืดในช่องท้องทำให้เกิดลำไส้อุดตัน ภาวะหายใจล้มเหลว

การตรวจโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย การเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเลือด การเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต ทำอัลตราซาวน์

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ

สำหรับารรักษาอาการช่องท้องอักสบนั้น สามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ งดน้ำ งดอาหาร และให้สารอาหารแก่ร่างกายโดยให้น้ำเกลือ ผ่าตัดล้างช่องท้อง ผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบจะถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาแบ่งออกเป็น การรักษาสาเหตุ การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และการรักษาแบบประคับประคอง

  • การรักษาสาเหตุ เช่น กรณีช่องทางเดินอาหารแตกทะลุ อวัยวะภาย ในที่ฉีกขาด หรือมีซีสต์แตก ก็ต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากฟอกไตทางหน้าท้องอยู่ก็ต้องถอดสายที่ต่อเข้าช่องท้องออก เป็นต้น
  • การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ การรักษาหลัก คือการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ โดยให้ยาผ่านเข้าทางหลอดเลือด โดยยาจะต้องครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • ส่วนการรักษาแบบประคับประคองก็จะทำร่วมไปด้วยกัน เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน การให้สารน้ำ และเกลือแร่

การป้องกันการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบี และแคลเซี่ยม โปรตีนที่มาจากถั่ว เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อแดง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง และน้ำตาล งดชา กาแฟ และสุราดื่ม ให้น้ำวันละ 6-8 แก้ว

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) เกิดจากหลายสาเหตุ อาการของโรค คือ ปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove