ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวาโรคไทฟอยด์ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อแบคทีเรีย

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ ภาษาอังกฤษ เรียก Typhoid fever เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผุ้ป่วยจะ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และเจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi ซึ่งเชื้อโรคก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ และทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนไปในอาหารรวมถึงน้ำดื่ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดโรค

การพัฒนาด้านสุขอนามัยในปัจจุบันทำให้การเกิดดรคนี้น้อยลง แต่ในประเทศหรือสิ่งแวดล้มที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการขับถ่าย จะมีอัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์สูง ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ อาหารไม่สะอาดและการขับถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย จะมีโอกาสเกิดดรคนี้สูง

อาการของโรคไทฟอยด์

สำหรับอาการของโรคไทฟอยด์ หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 7-14 วัน ผู้ป่วยจะ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้น จะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่นภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยา paracetamol ทาน 500 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคไทฟอยด์ นั้นสามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ซึ่งควรปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังลงลงอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค คือ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การรักษาไข้ไทฟอยด์

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส leptospirosis ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนูเเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส โรคติดเชื้อ โรคจากหนู

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis โรคที่มากับน้ำท่วม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบททีเรียทำให้เกิดการอักเสบของตับ การอักเสบของไต อาการที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว หากเป็นมากจะมีอาการดีซ่านและปัสสาวะได้น้อย โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั่วโลก

สาเหตุของการเกิดโรคฉี่หนู 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้จะมีเชื้อโรคที่ไต เมื่อ ฉี่ออกมาก เชื้อโรคก็ออกมาด้วย เมื่อเชื้อโรคปะปนกับน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัส และ รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดโรคขึ้น โดยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การเข้าสู่ร่างกายทางตรง และ การเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรับเชื้อโรคโดยตรง จากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนกัด เป็นต้น
  2. การรับเชื้อโรคทางอ้อม เช่น การรับเชื้อจากการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ โดยเชื้อโรคจะเข้าทางผิวหนังผ่านแผล นอกจากแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกาย ผ่านเยื่อบุในปาก ตา จมูก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู นั้นมี 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อที่มีหนูเเป็นพาหะนำโรค โรคที่มากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาและการป้องกันโรคฉี่หนู


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove