ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ถุงน้ำดีอักเสบ อาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาร้าวไปถึงสะบักข้างขวา หายใจลึกๆปวดมาก ปวดลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไข้สูง อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลืองถุงน้ำดีอักเสบ โรคตับ โรคไม่ติดต่อ โรคจากนิ่ว

ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) เป็นอวัยวะที่ช่องท้องที่มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 35-50 มิลลิลิตร ซึ่งมีหน้าที่หลักในการเก็บสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับและทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร (โดยเฉพาะอาหารไขมัน) โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร

น้ำดี ของมนุษย์เกิดจากตับเป็นตัวสร้างน้ำดี และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะนำไปย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่งกายลดลงจะก็ทำให้ เกิดนิ่ว ซึ่งพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ นิ่วในถุงน้ำดีสามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ เป็นต้นเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย

  • เพศหญิง
  • การคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม
  • เชื้อชาติ
  • ผู้สูงอายุ
  • อาหาร
  • ภาวะอ้วน
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
  • การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง

สาเหตุของถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี

  • สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส  ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
  • สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น

อาการถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง

การรักษาอาการถุงน้ำดีอักเสบ

แพทย์จะให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวด งดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พักการทำงาน และผ่าตัดถุงน้ำดี ผู้ป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ต้องระวังโรคแทรกซ้อน จากถุงน้ำดีอักเสบ โรคแทรกซ้อนที่พบ เช่น  ภาวะโลหิตเป็นพิษ ถุงน้ำดีเป็นหนอง ถุงน้ำดีเน่า ตับอ่อนอักเสบ ช่องท้องอักเสบ

ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สำหรับการป้องกันถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้ โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ของการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • จำกัดการกินอาหารไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคไขมันในเลือดสูง
  • เมื่อจะลดน้ำหนัก ควรต้องค่อยๆลดช้าๆ

โรคถุงน้ำดีอักเสบ สาเหตุเกิดจากนิ่ว ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆจะปวดมากขึ้น ปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง ที่ถุงน้ำดี การให้ยาปฏิชีวนะเป็นวิธีรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ หากอาการหนักจำเป็นต้องตัดถุงน้ำดีทิ้งเพื่อรักษาชีวิต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove