โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน

กาฬโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis จากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้นิ้วเน่าจากการขาดเลือดกาฬโรค โดนหมัดหนูกัด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

การติดเชื้อกาฬโรคในคน

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ วิธีรักษากาฬโรค

อาการของกาฬโรค

สำหรับอาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย Bubonic plague, Septicemic plague และ Pneumatic plague รายละเอียดของแต่ละกลุ่มอาการมีดังนี้

  • Bubonic plague  อาการชนิดนี้พบบ่อย อาการจะแสดงหลังจากถูกหมัดหนูกัด ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเข้าไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองจะแสดงอาการ บวม ถ้ากดจะรู้สึกเจ็บอาการปวดจะมากขึ้น และจะขยับแขน ขาไม่ได้ในเวลาต่อมา สังเกตุง่ายๆจาก ต่อมน้ำเหลืองโต กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • Septicemic plague อาการชนิดนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปในกระแสโลหิต จะทำให้ผู้ป่วย ไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก หนูก้น ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อค และนิ้วเน่า จากการขาดเลือด
  • Pneumatic plague อาการชนิดนี้พบไม่มากแต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการสูดเอาเชื้อโรคเช้าทางจมูก ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไ่ม่มีแรง ไอและมีเสมหะ เจ็บหน้าอก มีอาการอวก

การรักษากาฬโรค

สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาป้องกันเมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกาฬโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

โรคแทรกซ้อนของกาฬโรค

สำหระบโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค ประกอบด้วย นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวม การหายใจล้มเหลว โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกาฬโรค สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ และต้องรักษาสุขอนามัย ให้สะอาด และกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ให้มีหนูอยู่ในที่พัก การดูแลตนเอง และการป้องกันกาฬโรค ได้ดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

กาฬโรค ( Peapue ) โรคติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis เกิดจากโดนหมัดหนูกัด หนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยอาจช็อค และ นิ้วเน่าจากการขาดเลือด การรักษากาฬโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove