มะรุม Horse radish tree ผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ด้านอาหารและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดัน โทษมะรุม

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ เป็นต้น ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้าน มีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นพืชที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วน

น้ำมันมะรุม ช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม พืชผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารวมถึงอุตสาหกรรม ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะรุมเป็นอาหาร นิยมบริโภคส่วนของฝักและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมและใบมะรุม รายะเอียดดังนี้

ฝักมะรุมขนาด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม

ใบมะรุมขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุมด้ารการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม สรรพคุณของมะรุม มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคมะรุม มีดังนี้

  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม
  • มะรุมอาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุมรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ท้องเสียได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

เสาวรส Passion fruit หรือ กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ แก้ไอ ขับเสมหะ ผลเสาวรสนิยมยำมาทำอาหาร รสชาติอร่อย วิตามินสูง

เสาวรส กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สมุนไพร

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis ชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น ต้นเสาวรสมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบว่ามีเสาวรสในบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ประโยชน์ของเสาวรส มีสรรพคุณหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต นิยมรับประทานเสาวรสเป็นผลไม้สด

แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

สายพันธ์เสาวรส

ต้นเสาวรส มีอีกชื่อหนึ่งว่า กะทกรกฝรั่ง สำหรับเสวรสในประเทศไทย นิยมปลูก 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสสีม่วง เสาวรสสีเหลือง และ เสาวรสลูกผสม รายละเอียด ดังนี้

  • เสาวรสสีม่วง ลักษณะของผลจะมีสีม่วง เป็นเสาวรสที่พบได้มากในที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา สายพันธ์นี้ผลจะมีขนาดเล็ก มีรสชาติดี มีกรดต่ำสีสวยและหวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นผลไม้สด
  • เสาวรสสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นสีเหลือง พบได้ตามพื้นที่สูงตามชายฝั่งทะเล ลักษณะเด่นผลมีขนาดใหญ่ ผลดก มีกรดมาก เหมาะสำหรับแปรรูป
  • เสาวรสลูกผสม เกิดจากการผสมระหว่างเสาวรสสีม่วงกับเสาวรสสีเหลือง ลักษณะผลใหญ่ ให้ผลดก มีเมล็ดมาก สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

ต้นเสาวรส เป็นไม้เลื้อย การขยายพันธุ์เสาวรส สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การปักชำ และ การตอนเถา ซึ่งนิยมขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์มากที่สุด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

การบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลเสาวรส ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรส ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

น้ำเสาวรส มีสาระสำคัญ เช่น Carotenoid ( คาโรทีนอยด์ ) Pectin methyhesterase ( เอนไซม์ เพคทนเมทิลเอสเตอเรส ) Catalase ( คาทาเลส ) Leucine ( ลิวซีน ) Valine ( วาลีน ) Tyrosine ( โทโรซีน ) Prline ( โพรลีน ) Threonine ( ทรีโอนีน ) Glycine ( ไกลซีน ) Aspertic acid ( กรดแอสพาร์ทิก ) Arginine ( อาร์จินีน ) Lysine ( ไลซีน ) และ Alkalod ( อัลคาลอยด์ )

สรรพคุณของเสาวรส

การใช้ประโยชน์จากเสาวรส ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ยอดเสาวรส รากเสาวรส ใบเสาวรส และผลเสาวรส สรรพคุณของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส สรรพคุณบำรุงธาตุขัน รักษาแผล
  • รากของเสาวรส สรรพคุณรักษาผดผื่นคัน รักษากามโรค
  • ใบของเสาวรส สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกของเสาวรส สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร ช่วยกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดไขมันในเลือด

โทษของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสด้านการรักษาโรค ห้ามรับประทานต้นสดของเสารส เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีพิษ เป็นอันตรายทำให่เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove