ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

กระเจี๊ยบเขียว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว ผักสด สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Lady‘s Finger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับ

ผลกระเจี๊ยบเขียว นิยมนำมาทำอาหาร โดยใช้ลวกเป็นผักเคียงกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังนิยานำมาทำอาหาร หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมาก กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรถ์

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว ลำต้นตั้งตรงความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกลำต้นบาง เนื้อลำต้นมีสีขาวนวล
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบละหุ่ง คือ ใบกลมเป็นแฉกแบบร่องลึก ปลายใบแหลม ใบหยักแหลมคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวใบหยาบสากมือ ใบมีสีเขียว
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมขาว บริเวณกลางดอกมีสีม่วง
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตมาจากดอก ฝักเรียวยาวปลายฝักแหลม เหมือนรูปนิ้วมือ ฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวนิยมรับประทานผลสดกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน พลังงาน 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.215 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน ( Pectin ) และกัม ( Gum ) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด

สรรพคุณของกระเจียบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากกระเจี๊ยบเขียว สามารถใช้ประโยชน์จาก ฝักกระเจี๊ยบเขียว ใบกระเจี๊ยบเขียว รากกระเจี๊ยบเขียว และ เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ ลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคซิฟิลิส
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณแก้อาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ
  • ยางจากฝักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล ช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว หรือ ใช้ประโยชน์ส่วนต่างๆของกระเจี๊ยบเขียว ในการรักษาโรคมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีความเป็นพิษ ในเมล็ดแก่สารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ปวดบีบท้อง ท้องอืด หรือ ท้องเสียได้ เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดนิ่วได้ ้เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีออกซาเลตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวมีวิตามินเค ที่สรรพคุณช่วยต้านการเกิดลิ่มเลือด สำหรับกลุ่มคนที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady‘s Finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับคุณ ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียว พืชท้องถิ่น นิยมรับประทานผล ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น เป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove