พริกไทย สมุนไพร เมล็ดพริกไทยให้รสเผ็ดร้อน ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้างพริกไทย สมุนไพร สรรพคุณของสมุนไพร สมุนไพรไทย

พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย Piper nigrum L. ลักษณะของต้นพริกไทย สายพันธุ์พริกไทย  ประโยชน์ของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขัยเสมหะ ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์

ต้นพริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn พริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น พริกน้อย พริก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน  พริกขี้นก ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น เป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย และยังเป็น พืชเศรษฐกิจในเขตร้อน ประเทศที่ผลิตพริกไทย จำนวนมาก เช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย พริกไทย

พริกไทย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพิ่มรสชาติ พริกไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขับเสมหะ  ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ พริกไทยมีแคลเซียมสูง โดยเฉพาะพริกไทยอ่อน ช่วยในการบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้  พริกไทย มี ฟอสฟอรัสและวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง มีเบต้าแคโรทีน ช่วยในการมองเห็น

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ จัดพืชตระกูลไม้เลื้อย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร

  • ลำต้นพริกไทย พริกไทยเจริญในแนวดิ่ง ความสูงประมาณ 500 เซ็นติเมตร ลำต้นจะสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ลำต้นเป็นข้อๆ รากของต้นพริกไทยจะเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ
  • ใบพริกไทย ใบจะมีสีเขียว ใหญ่เหมือนใบโพ ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกพริกไทย พริกไทยจะดอกเล็กจะออกช่อเป็นพวงตามข้อ ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
  • เมล็ดของพริกไทย มีลักษณะกลมเป็นพวง  ลำต้นแตกแขนงออกเป็นพุ่ม ผลทรงกลมแบบเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง

สรรพคุณของต้นพริกไทย

พริกไทยสามารถนำมาทำสมุนไพร ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ดอก เมล็ด ใบ เถา ราก

  • ดอกของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยลดความดันตา แก้อาการตาแดงจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ดของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบของพริกไทย มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • เถาของพริกไทย ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง และท้องเดิน
  • รากของพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ลดอาการวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทย สามารถใช้รักษาหวัด ทำให้หายใจสะดวก

พริกไทยยังมีสรรพคุณในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด และนิยมนำมาถนอมอาหาร เช่น ทำไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ

โทษของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย หากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคุณสมบัติของพริกไทย คือ มีฤทธ์ร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • การรับประทานพริกไทยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ เช่น ตาอักเสบ คออักเสบ เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น

พริกไทย พืชพื้นบ้าน สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดพริกไทย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาและสรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน พบมากในจังหวัดนครปฐม วิตามินซีและแคลเซียมสูงส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของส้มโอ

ต้นส้มโอ ชื่อสามัญ Pomelo ( Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ในภาษาดัตซ์ ซึ่งแปลว่า “ ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ” ) ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus maxima (Burm.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

ประโยชน์ของส้มโอ

ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

นักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ ใช้ขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ส้มโอมีวิตามินซี และแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้ดี
  • เปลือกของผลส้มโอ นำมาใช้ ขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ นำมาต้มและพอกหัว บรรเทาอาการปวดหัว นำใบมาใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สามารถนำมาแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สามารถใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและรักาาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งหากเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และ ไม่ควรรับประทานเปลือกส้มโอแบบสดๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้
  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูก และฟัน ส้มโอพบมาก ในจังหวัดนครปฐม ส้มโอมีวิตามินซีและแคลเซียมสูง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove