ส้มโอ Pomelo มีวิตามินซีและแคลเซียมสูง สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน

ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ภาษาดัตซ์ แปลว่า ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. ชาวจีน นิยมใช้ส้มโอเป็นไหว้เจ้า เชื่อว่า ส้มดอสื่อความหมายถึงความโชคดี ส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก

ประโยชน์ของส้มโอ ส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ ในประเทศไทยนิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหารอาหาร รสชาติอร่อย ส้มโอจึงเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์ เพื่อการบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง แต่แหล่งส้มโอที่ได้รับความนิยม คือ ส้มโอนครปฐม โดยสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ แต่นอกจากนั้น การรับประทานส้มโอ และนำส้มโอมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทยทั้งหวานคาว รวมถึงทานเป็นผลไม้สด เช่น ยำส้มโอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ ไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น ขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล
  • ใบส้มโอ ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ
  • ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว
  • ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

ในการบริโภคส้มโอเป็นอาหารนิยมบริโภคผลของส้มโอ ซึ่งนักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของผลส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ส้มโอในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก ซึ่งรายละเอียด สรรพคุณของส้มโอ มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา
  • เปลือกของผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ สรรพคุณบรรเทาอาการปวดหัว แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สรรพคุณแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้อาการปวดท้องน้อย รักษาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้
  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย หากเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา
  • เปลือกส้มโอไม่ควรรับประทานแบบสดๆได้ เพราะ จะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ อาเจียนได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตำลึง นิยมปลูกริมรั้วบ้าน สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาแมงสัตว์กัดต่อย ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาแผล โทษของตำลึงเป็นอย่างไร

ตำลึง สมุนไพร ผักพื้นบ้าน

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Cocconia grandis (L.) Voigt สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนิน เป็นต้น สังคมไทยรู้จักผักตำลึงเป็นอย่างดี ผักตำลึงนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ทานเป็นผักสด หรือ นำมาผัด มาต้มกิน ผักตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส สรรพคุณช่วยย่อยแป้ง และมีบีตาแคโรทีน ช่วยซ่อมแซมส่วนของร่างกายที่สึกหรอ

ประโยชน์ของตำลึง  สามารถนำมารับประทานและยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวและยารักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณ เช่น นำเถาและใบมาตำผสมกับปูนแดงใช้ทาบริเวณรักแร้ ช่วยระงับกลิ่นกาย ยอดตำลึงนำมาผสมน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้าช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมใช้ยอดและใบตำลึงกินเป็นผักสด และใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น  แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อยซึ่งลำต้นจะเลื้อยเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารนิยมรับประทานใบและยอดอ่อนตำลึงเป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตำลึงด้านการบำรุงร้างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ซึ่งสรรพคุณของตำลึง มีดังนี้

  • รากของตำลึง สรรพคุณลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • ลำต้นของตำลึงสรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  รักษาโรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ใบของตำลึง สรรพคุณลดวามร้อนในร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง สรรพคุณรักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง สรรพคุณใช้รักษาหิด

โทษของตำลึง

การรับประทานตึลึงหรือใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ไม่พบอันตรายจากการใช้ประโยชน์จากตำลึงในด้านต่างๆ แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย สำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็นอยู่แล้วหากรับประทานตำลึงมากเกินไปอาจทำให้ตัวเย็น เกินอาการชา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove