อัญชัน นิยมใช้ประโยชน์หลาหลาย สมุนไพร สีผสมอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน บำรุงผม บำรุงความงาม บำรุงสายตา ทำให้ผมดกดำ โทษของอัญชันมีอะไรบ้างอัญชัน สมุนไพร สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน ( เชียงใหม่ ) เอื้องชัน ( ภาคเหนือ ) เป็นต้น ต้นอัญชัน สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่อยู่คู่กับสังคมไทย มีการนำอัญชันมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ดอกอัญชันมีสารที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรากผม ช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้บำรุงสายตาไปในตัว ลดอาการเหน็บชา นอกจากนั้น สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม นำมาทำเครื่องสำอางค์ ทำสีผสมอาหารให้สีม่วง

อัญชันในวรรณคดีสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ อันชัญนิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกอัญชัน สามารถนำมาชุบแป้งทอด พื่อตกแต่งจาน หรือ ทำไข่เจียวอัญชัน ก็ได้

อัญชันที่พบอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อัญชันดอกขาว กับ อัญชันดอกน้ำเงิน และบางครั้งอาจพบอัญชัญชนิดดอกสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน ดอกอัญชันนำมาคั้นทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ น้ำดอกอัญชัน

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็นพืชไม้เลื้อย ขนาดไม่ใหญ่ สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือ ปลูกเป็นซุ้มประตูให้ความสวยงาม สามารถขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน โตง่าย ลักษณะของต้นอัญชัน มีดังนี้

  • ลำต้นอัญชัน ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้เลื้อย อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพันตามหลักหรือเสา ลำต้นมีขนปกคลุม ลำต้นอ่อนสีเขียว หากลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สารสำคัญในอัญชัน

สารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชัญ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถให้ประโยชน์จาก ใบ ราก เมล็ด และ ดอก ซึ่งสรรพคุณของอัญชัญ มีดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณช่วยให้ผมดกดำ ผมนุ่มสวย บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตา ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชันในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังต่างๆ ดังนี้

  • ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะ ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะ อาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove