บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) พืชรสขม สมุนไพร นิยมทำยารักษาโรค สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ขับพยาธิบำรุงผิวพรรณ

บอระเพ็ด ต้นบอระเพ็ด สมุนไพร สรรพคุณของบอระเพ็ด

บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomso ชื่ออื่นของบอระเพ็ด เช่น ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เจตมูลหนาม เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด ถือไม้เลื้อย ซึ่งจะพบเห็นต้นบอระเพ็ด พันตามต้นไม้ เถาของบอระเพ็ดมีลัษณะกลมใหญ่เป็นปุ่ม มีสีเทาอมดำ รสขมจัด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบเหมือนรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ สีเขียว ดอกจะออกตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก ผลเป็นทรงกลม สีเหลือง

สรรพคุณของบอระเพ็ด

สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล รายละเอียด ดังนี้

  • รากของบอระเพ็ด ใช้ลดไข้ ดับพิษร้อน และ ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของบอระเพ็ด ใช้ลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุขัน บำรุงเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบของบอระเพ็ด ใช้แก้ไข้ ขับพยาธิ แก้ปวดฝี บำรุงธาตุ ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผดผื่นคัน บำรุงเส้นเสียง ใช้รักษาเลือดคั่งในสมอง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกของบอระเพ็ด ใช้ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
  • ผลของบอระเพ็ด ใช้ขับเสมหะ ลดไข้

เมื่อพูดถึงสมุนไพรที่มีรสขมนั้นนับได้ว่า บอระเพ็ดเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีรสขม โดยอาจจะเรียกได้ว่ามีรสชาติที่ขมที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งรสชาติที่ขมของบอระเพ็ดนั้นมีสรรพคุณเหลือหลายที่มีบอระเพ็ด สมุนไพร รสขม ที่ใช้เป็นอายุวัฒนะ ผมหงอกแก้ด้วยบอระเพ็ดะโยชน์ต่อร่างกายและมีสรรพคุณทางยาที่มากล้น จนมีคำกล่าวว่าหวานเป็นลมขมเป็นยานั่นเอง บอระเพ็ดนั้นจัดเป็นต้นไม้ประเภทเครือเถา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจะขึ้นเกี่ยวกับต้นไม้ชนิดไม้ยืนต้นเป็นหลัก

บอระเพ็ดเป็นสมุนไพรที่มีรสขม โดยรสชาติที่ขนของบอระเพ็ดนั้นมีสรรพคุณมากมายโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้บอระเพ็ดเป็นยาสมุนไพรในการช่วยให้เจริญอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งบอระเพ็ดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายโดยเฉพาะแทนนินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต่อต้านความเสื่อมชราและชะลอความแก่ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง นอกจากบอระเพ็ดจะถูกใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายแล้วบอระเพ็ดยังถูกนำมาใช้เพื่อบำรุงและฟื้นฟูร่างกายทางด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของความสวยความงาม เช่น หากผู้ใดที่มีปัญหาเรื่องของสุขภาพเส้นผมทั้งเส้นผมบางผมร่วงอีกทั้งยังรวมไปถึงผมหงอกก่อนวัยนั้นนับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายคนวิธีการแก้ไขง่ายๆโดยใช้สมุนไพรบอระเพ็ดรับประทานวันละ 600 มิลลิกรัม โดยรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไปนั้นจะช่วยทำให้ผมกลับมาดกดำไม่ร่วงง่ายและยังช่วยให้ผมที่งอกนั้นกลับมาดกดำเหมือนเดิมได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วบอระเพ็ดยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ทานเป็นประจำจะมีร่างกายที่แข็งแรงอีกทั้งยังมีความสดชื่นอยู่เสมอ
ความคมของบอระเพ็ดนั้นสามารถช่วยในการถอนพิษไข้ได้เป็นอย่างดีจึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคใครหวัดและไอตัวร้อนรวมถึงอาการดีซ่านซึ่งสามารถรักษาได้เป็นอย่างดี แม้ในปัจจุบันนี้ผลงานวิจัยทางด้านการใช้บอระเพ็ดเป็น

สมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนั้นอาจจะยังดูน้อยเนื่องจากสมุนไพรบอระเพ็ดนั้นจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันมากเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันนี้ในทางการแพทย์แผนไทยและเภสัชกรรมไทยได้มีการผลิตบอระเพ็ดแคปซูลเพื่อเป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายออกมาวางจำหน่ายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการใช้สมุนไพรบำรุงร่างกายนั่นเองโดยถือได้ว่าเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจและหันมาใช้ยาสมุนไพรแทนการใช้ยาแผ่นปัจจุบันนั้นเอง

โดยสมุนไพรบอระเพ็ดนั้นมีข้อดีคือสามารถช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้น้อยกว่าการใช้ยาเคมีหรือยาแผนปัจจุบันนั่นเอง

ข้อควรระวังในการกินบอระเพ็ด

สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

ข้อควรคำนึงในการบริโภค บอระเพ็ดแบบแคปซูล คือ ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าหนึ่งเดือน เพราะ หากมีการทานเกินกว่าหนึ่งเดือน จะมีการสะสมในร่างกายทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและเบื่ออาหารได้

สมุนไพรบอระเพ็ด สำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

ถ้าหากใช้แล้วเกิดอาการมือเท้าเย็น อ่อนเพลีย ตาเหลือง แขนขาหมดเรี่ยวแรง ขอแนะนำว่า ควรหยุดรับประทานในทันที และควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นการแสดงอาการเริ่มแรกของโรคตับอักเสบ หากดูจากข้อมูลผลรับรองการวิจัย และความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่นำบอระเพ็ดมาใช้เป็นยาแล้วนั้น จะสามารถเห็นได้ว่า ไม่มีความเชื่อหรือผลวิจัยที่ช่วยรับรองที่ช่วยชี้ให้เห็นว่า บอระเพ็ด สามารถช่วยในการลดความอ้วนได้จริง อย่างไรก็ตาม บอระเพ็ด ก็ยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากมายต่อร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ทานเป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว

บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) เป็นไม้เลื้อย พบได้ตามป่าดิบแล้ง สมุนไพรไทย รสขม สรรพคุณของบอระเพ็ด ลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุขัน บำรุงเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงผิวพรรณ

ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove