ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง

โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove