แคนา สมุนไพร พืชท้องถิ่นใช้ประโยชน์ทุกส่วน สรรพคุณของขับประจำเดือน ดูแลช่องปาก ขับลม บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร สำหรับสตรีหลังคลอดแคนา ดอกแค สมุนไพร สรรพคุณของแคนา

แคนา แคป่า แคขาว แคเค็ตถวา แคทราย แคแน หรือแคฝอย ทั้งหมดนี้ก็คือ แคนา ที่เรียกแตกต่างกันนแต่ละพื้นที่ แคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dolichandrone serrulata (DC.) Seem. ชื่อสามัญว่า D.longissima Schum D.rheedii Seem ชื่อเรียกอื่นๆ ของแคนา เช่น แคขาว แคเค็ตถวา แคแน แคฝอย แคฝา แคภูฮ่อ แคแหนแห้ แคทราย แคยาว แคอาว แคยอดดำ เป็นต้น

แคนา หรือ แคป่า เป็นจัดเป็นผักป่า และไม้สมุนไพร รวมถึงเป็นไม้ประดับ และ ไม้มงคล เนื่องจากดอกนิยมนำมารับประทานคู่กับน้ำพริก ทั้งแบบรับประทานสด และแบบลวก นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม และให้ร่มเงาได้ดีจึงนิยมนำมาปลูกตามปั๊มน้ำมัน และสถานที่ราชการต่างๆ

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา แคนาสามารถพบได้ตามป่า ทุ่ง นา หรือ ป่าเบญจพรรณ สามารถขนายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของลำต้น ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นพืชผลัดใบ มีเปลือกสีน้ำตาลอ่อ ผิวเปลือกเรียบ ลำต้นตั้งตรง ลักษณะใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก ผิวใบด้านล่างจะมีขน ก้านใบยาว 10 มิลลิเมตรโดยประมาณ  ดอกใหญ่สีขาว รูปแตร โดยดอกจะช่วงมีนาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ผลเป็นฝัก

สรรพคุณของแคนา

เรานำแคนามาทำสมุนไพร ในส่วนต่างๆ คือ ดอก เมล็ด ราก เปลือก และใบ โดยรายละเอียเดังนี้

  • ดอกของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถนำมาทำอาหารลวกจิ้ม สามารถนำมาช่วย ขับเสมหะ ขับเลือดประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร และขับลมได้
  • เมล็ดของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการโรคชัก
  • รากของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วย แก้เสมหะ ขับลม และบำรุงโลหิต
  • เปลือกของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วยแก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับเลือด ใช้สำหรับสตรีหลังคลอด
  • ใบของแคนา จะมีรสเย็น เมื่อนำมาบด และน้ำมาพอกแผลได้ รักษาแผลในช่องปาก และนำมาบ้วนปาก ช่วยรักษาแผลในช่องปาก

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา การรับประทานดอกแคนา แบบสดๆอาจจเป็นอันตราย ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์

การปลูกแคนา

สำหรับการปลูกและขยายพันธ์ของแคนานั้น ใช้การเพาะเมล็ด นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและการปักชำ แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก

การเก็บแคนา

การเก็บแคนา นั้นนิยมจะออกเก็บแคนาช่วงเช้าตรู่ประมาณตี 5  ถึง 7 โมงเช้า แต่หากนำไปขายจะเก็บตั้งแต่ตอนดึก เพราะถือเป็นการจับจองต้นแคนาคนแรก และจะสามารถเก็บดอกแคนาจากต้นอื่นได้มากกว่าคนที่มาสาย ทั้งนี้ เนื่องจากต้นแคนาที่พบตามป่าหรือตามทุ่งนาจะมีน้อยมาก เพราะเกษตรกรมักตัดโค่นออก และมักจะพบแคนาเกิดเป็นหย่อมๆในบางพื้นที่เท่านั้น

ต้นแคนา พืชท้องถิ่น ไม้ประดับ มีประโยชน์ทุกส่วน สรรพคุณของแคนา เช่น ขับประจำเดือน ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร ยาสำหรับสตรีหลังคลอด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดง เกิดได้ทุกเพศทุกวัย กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการปวดท้อง เมื่อเป็นโรคกระเพาะอักเสบต้องทำอย่างไรโรคกระเพาะอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ ปวดท้อง

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนทำงานหนัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หากมีอาการปวดท้อง ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็น โรคกระเพาะอาหาร แล้ว แต่อาการปวดท้องมีหลายสาเหตุ มาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาอาหารอักเสบ กันว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร อาการของโรคกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง แล้วจะรักษาได้อย่างไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ การเกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นลักษณะของการเกิด แผล การบวม แดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ ทุกเพศ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นเป็นโรคที่พบบ่อย แต่จากสถิติสาเหตุของการเกิดโรคนั้นไม่ชัดเจน เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ จะได้รับการรักษาตามอาการ และเมื่ออาการดีขึ้น ก็จะไม่ตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง สำหรับโรคกระเพาะอาหารนั้นมีรายงานว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เป็นโรคนี้สูงถึงประมาณปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ คือ การรักประทานอาหารไม่ตรงเวลา และนิยมรับประทานอาหารรสจัด ที่มีกรดสูง เราได้รวมสาเหตุของการเกิดโรคกระเพา มีรายละเอียดดังนี้

  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากก่าวปกติ ซึ่งการหลังกรดนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
  • ความเครียด ซึ่งความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มมี่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดของกระเพราอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน(Zollinger-Ellisson syndrome)
  • การกินยาบางชนิด กินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำใหเเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาอาหาร
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา เมื่อถึงเวลาระบประทานอาหารกระเพาอาหารจะหลังกรดออกมา หากไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาอาหารโดยไม่มีอาหารสำหรับย่อย กรดเลยไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
  • การติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่อันตรายคือ เชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร ซึ่งเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
  • กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

อาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นจะมีอาการ คือ ปวดท้องในบริเวณกระเพาะอาหาร อาการเป็นๆหายๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือดได้ เบื่ออาหาร และผอมลง และเลือดออกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นสีดำ

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกระเพาอาหาร นั้น มีวิธีรักษาอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยารักษาและการผ่าตัด ซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังรายละเอียดของการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารหลักๆเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งการปรับพฤติกรรม คือ เลิกพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น การกินอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารรสจัด การดืมสุรา การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการใช้ยารักษา การกินยาต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โดยปรกติแล้วแผลในกระเพาะอาหารจะหายภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้น มีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย
    • ยาลดกรด ( antacid ) ให้รับประทานก่อนกินอาหาร 120 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 60 นาที และรับประทานก่อนนอน
    • ยาลดการหลั่งกรด ( acid-suppressing drugs ) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
    • ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่พบ
    • ยาเคลือบกระเพาะ ( Stomach-lining protector ) ใช้สำหรับเคลือบแผลในกระเพาะ
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ไม่คอยได้ใช้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในเฉพาะกรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น เลือดไหลไม่หยุด กในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
    การรักษาโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาจำนวนมาก และได้ผลดี การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่หนักมากเท่านั้น

การดูแลตัวเองสหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ นั้น ต้องมีข้อควรปฏิบัตติ ดังนี้

  • กินยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • งดอาหารที่กระตุ้นอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีกรด
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน
  • ดูแลความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและภาชนะในการใส่อาหาร
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ มีเลือดปนให้พบแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ นั้นสำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระตุ้นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่จะบริโภค เพื่อป้องกันการติตเชื้อ
  • ผ่อนคลาย เนื่องจากความเครียด ช่วยกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี้ยงการกินยากลุ่มยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • รักษาและควบคุมโรค ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคกระเพราะอาหารอักเสบ ความสำคัญของโรคนี้ อยู่ที่ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา และ อาหารที่กิน ต้องไม่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร ก็เพียงเท่านี้ แต่หลายคนทำไม่ได้

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาหตุ กระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โรคทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนเครียดและคนทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการของโรคกระเพาะอาการ คือ ปวดท้อง สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแล เมื่อเป็นโรคกระเพาะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove