ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง

กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดง เกิดได้ทุกเพศทุกวัย กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการปวดท้อง เมื่อเป็นโรคกระเพาะอักเสบต้องทำอย่างไรโรคกระเพาะอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ ปวดท้อง

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนทำงานหนัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หากมีอาการปวดท้อง ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็น โรคกระเพาะอาหาร แล้ว แต่อาการปวดท้องมีหลายสาเหตุ มาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาอาหารอักเสบ กันว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร อาการของโรคกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง แล้วจะรักษาได้อย่างไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ การเกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นลักษณะของการเกิด แผล การบวม แดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ ทุกเพศ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นเป็นโรคที่พบบ่อย แต่จากสถิติสาเหตุของการเกิดโรคนั้นไม่ชัดเจน เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ จะได้รับการรักษาตามอาการ และเมื่ออาการดีขึ้น ก็จะไม่ตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง สำหรับโรคกระเพาะอาหารนั้นมีรายงานว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เป็นโรคนี้สูงถึงประมาณปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ คือ การรักประทานอาหารไม่ตรงเวลา และนิยมรับประทานอาหารรสจัด ที่มีกรดสูง เราได้รวมสาเหตุของการเกิดโรคกระเพา มีรายละเอียดดังนี้

  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากก่าวปกติ ซึ่งการหลังกรดนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
  • ความเครียด ซึ่งความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มมี่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดของกระเพราอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน(Zollinger-Ellisson syndrome)
  • การกินยาบางชนิด กินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำใหเเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาอาหาร
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา เมื่อถึงเวลาระบประทานอาหารกระเพาอาหารจะหลังกรดออกมา หากไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาอาหารโดยไม่มีอาหารสำหรับย่อย กรดเลยไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
  • การติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่อันตรายคือ เชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร ซึ่งเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
  • กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

อาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นจะมีอาการ คือ ปวดท้องในบริเวณกระเพาะอาหาร อาการเป็นๆหายๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือดได้ เบื่ออาหาร และผอมลง และเลือดออกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นสีดำ

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกระเพาอาหาร นั้น มีวิธีรักษาอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยารักษาและการผ่าตัด ซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังรายละเอียดของการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารหลักๆเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งการปรับพฤติกรรม คือ เลิกพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น การกินอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารรสจัด การดืมสุรา การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการใช้ยารักษา การกินยาต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โดยปรกติแล้วแผลในกระเพาะอาหารจะหายภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้น มีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย
    • ยาลดกรด ( antacid ) ให้รับประทานก่อนกินอาหาร 120 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 60 นาที และรับประทานก่อนนอน
    • ยาลดการหลั่งกรด ( acid-suppressing drugs ) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
    • ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่พบ
    • ยาเคลือบกระเพาะ ( Stomach-lining protector ) ใช้สำหรับเคลือบแผลในกระเพาะ
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ไม่คอยได้ใช้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในเฉพาะกรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น เลือดไหลไม่หยุด กในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
    การรักษาโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาจำนวนมาก และได้ผลดี การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่หนักมากเท่านั้น

การดูแลตัวเองสหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ นั้น ต้องมีข้อควรปฏิบัตติ ดังนี้

  • กินยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • งดอาหารที่กระตุ้นอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีกรด
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน
  • ดูแลความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและภาชนะในการใส่อาหาร
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ มีเลือดปนให้พบแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ นั้นสำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระตุ้นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่จะบริโภค เพื่อป้องกันการติตเชื้อ
  • ผ่อนคลาย เนื่องจากความเครียด ช่วยกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี้ยงการกินยากลุ่มยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • รักษาและควบคุมโรค ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคกระเพราะอาหารอักเสบ ความสำคัญของโรคนี้ อยู่ที่ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา และ อาหารที่กิน ต้องไม่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร ก็เพียงเท่านี้ แต่หลายคนทำไม่ได้

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาหตุ กระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โรคทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนเครียดและคนทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการของโรคกระเพาะอาการ คือ ปวดท้อง สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแล เมื่อเป็นโรคกระเพาะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove