ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวาโรคไทฟอยด์ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อแบคทีเรีย

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ ภาษาอังกฤษ เรียก Typhoid fever เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผุ้ป่วยจะ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และเจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi ซึ่งเชื้อโรคก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ และทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนไปในอาหารรวมถึงน้ำดื่ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดโรค

การพัฒนาด้านสุขอนามัยในปัจจุบันทำให้การเกิดดรคนี้น้อยลง แต่ในประเทศหรือสิ่งแวดล้มที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการขับถ่าย จะมีอัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์สูง ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ อาหารไม่สะอาดและการขับถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย จะมีโอกาสเกิดดรคนี้สูง

อาการของโรคไทฟอยด์

สำหรับอาการของโรคไทฟอยด์ หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 7-14 วัน ผู้ป่วยจะ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้น จะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่นภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยา paracetamol ทาน 500 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคไทฟอยด์ นั้นสามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ซึ่งควรปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังลงลงอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค คือ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การรักษาไข้ไทฟอยด์

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีความเป็นพิษ ทำให้อักเสบทั่วร่างกาย มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตัว คลื่นไส้ อ่อนแรง โรคร้ายแรงต้องรีบรักษาโลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเลือด

ภาวะโลหิตเป็นพิษ หมายถึง การที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายติดเชื้อ หรือ สารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ทำให้ความสามารถในการไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของเลือดลดลง  ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายมาก

โลหิตที่เป็นพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ได้ดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่สุงผลให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด มีหลายสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสุ่กระแสเลือด ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ป่วยโรคเอดส์ ผู้เป็นมะเร็ง
  • การรับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง เป็นต้น
  • ทารก ซึ่งเด็กยังไม่มีภูมคุ้มกันในร่างกายมากนัก
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งร่ายกายเริ่มเสื่อมลงตามอายุไข
  • ผู้ป่วยที่ต้องใส่สายต่างๆเข้าร่ายกาย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • คนที่มีแผลตามผิวหนัง เช่น แพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิต จะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะติดเชือในกระแสเลือด แบ่งออกเป็น 3 แนวทางรักษาหลักๆ ได้แก่ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการที่ต้นเหตุ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ เริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ จากนั้นใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีว สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

การรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ

  • การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
  • การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
  • การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
  • การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
  • การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

การป้องกันติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันโรค คือ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในทุกช่องทาง แนวทางการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด มีดังนี้

  • พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีเชื้อโรคมีความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายอักเสบทั่วร่างกาย อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย ต้องหาสาเหตุของเชื้อโรค เพื่อรักษา โรคร้ายแรง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove