โลหิตเป็นพิษ เกิดจากมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายอักเสบ อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย แนวทางการรักษาต้องหาเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด

โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคติดเชื้อ

โลหิตเป็นพิษ หมายถึง ภาวะร่างกายติดเชื้อโรคหรือได้รับสารพิษ ซึ่งเชื่อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เนื่องจากโลหิตที่มีพิษไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นอาการที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเจ็บและปวดทั่วร่างกาย จัดว่าเป็นดรคที่มีความอันตรายมากโรคหนึ่ง

สาเหตุของโลหิตเป็นพิษ

ภาวะโลหิตเป็นพิษเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษ และ เชื้อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต จึงแสดงอาการต่างๆออกมา ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษนั้น มีหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เราสามารถจำแนกปััจัยของการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การรับประทานยา ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การเกิดแผล การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น
  • ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุซึงกลุ่มอายุน้อยและกลุ่มอายุมาก ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดง่ายกว่าคนในกลุ่มปรกติวัยเจริญพันธ์

อาการภาวะโลหิตเป็นพิษ 

ผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ ลักษณะอาการจะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการสาเหตุของการติดเชื้อ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ ซึ่งการรักษาต้องเริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อก่อนจากนั้นจึงใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ แนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

หากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อเลือดที่มีพิษเข้าสู่อวัยวะต่างๆ สามารถทำให้เกิดการทำงานล้มเหล้วของอวัยวะนั้นๆได้ เช่น ปอดอักเสบเฉียบพลัน สมองอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ หัวใจอักเสบ หลอดดเลือดอักเสบ ซึ่งอาการต่างๆจะลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ไม่ลงไปแช่ในน้ำคลองที่สกปรก ไม่ลงไปเล่นโคลน แหล่งมลพิษทางอากาศ
  • สวมเครื่องมือป้องกัน เมื่อต้องทำกิจกรรมทีมีความเสียงเกิดอุบัตติเหตุ
  • หากเกิดแผลไม่ควรเปิดแผลสด ควรใช้ผ้าพันแผลปิดแผล เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคทางผิวหนัง
  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ปรุงสุก และ สะอาด

ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( E.coli ) เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โรคทั่วไปที่พบบ่อยในช่วงอากาศร้อน อาหารเน่าเสียบ่อย การติดเชื้ออีโคไลรักษาอย่างไรE.Coli โรค การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียอีโคไล

แบคทีเรียอีโคไล ภาษาอังกฤษ เรียก Escherichia coli เรียกย่อๆว่า E. coli คือ เชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่งพบในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตในสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะไม่ทําอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต หากอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตจะมีประโยชน์ช่วยย่อยอาหาร แต่หากแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ซึ่งอาการที่พบบ่อย คือ ท้องร่วง และ อุจจาระมีเลือดปน และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความผิดของไต

กลไกของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างชิกา ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1 ( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างโปรตีนชื่อ อินติมิน ( Intimin ) ซึ่งโปรตีนอินติมินใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และ จะสร้างสารพิษ ชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถแบ่งได้ 6 ชนิด ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli ( ETEC ), Enterohemorrhagic E coli ( EHEC ) , Enteropathogenic E coli ( EPEC ) , Enteroinvasive E coli ( EIEC ) , Enteroaggregative E coli ( EAEC ) , Shiga-toxin producing E coli ( STEC ) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC ( Enterotoxigenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC ( Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC ( Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC ( Enteropathogenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC ( Enteroinvasive E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC ( Enteroaggregative E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะอาศัยอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชิวิต เช่น สุกร โค กระบือ เป็นต้น และ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะถูกขับออกจากสิ่งมีชีวิตผ่านทางอุจจาระ เมื่ออุจจาระลงดินหรือลงสู่แหล่งน้ำ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ก็จะเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชั้นดี และ เชื้อเหล่านี้จะสามารถปนเปื้อนอาหารและน้ำดื่ม และสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในที่สุด

ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยทางอาหารหรือการสัมผัส   สามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ได้ดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การสัมผัสเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การว่ายน้ำในสระน้ำหรือแหล่งน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การแสดงอาการของโรคมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆเลยจนถึงเกิดอาการรุนแรง เช่น ขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ต่ำ ปวดท้อง ขับถ่ายมีเลือดปน ซึ่งความรุนแรงต่างๆของอาการนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายของแต่ละคน

หากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เกิดกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก อาการมักจะไม่แน่นอน บางรายคล้ายอาการของเด็กโต คือ ท้องร่วง ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ และหากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้ากระแสเลือด จะทำให้มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาการซึมเศร้า และหากรักษาล่าช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการรักษาอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่จำเป้นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากอาการของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สร้างสารพิษออกมา การให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจเป็นการกระตุ้นให้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ปล่อยสารพิษออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้อาการของโรคหนักมากขึ้น การรักษาใช้การประคับประครองการสูญเสียน้ำในร่างกายควบคู่กับควบคุมไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดไข้ และร่างกายจะมีกระบวนการในการขับสารพิษออกจากร่างกายทำให้อาการดีขึ้นและหายเป็นปรกติได้เอง

การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับสารพิษหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ รวมถึงทำร่างกายให้แข็งแรงสามารถรับมีกับเชื้อโรคได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางต่างๆได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงหลังจากการสัมผัสสัตว์ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ถ่ายอุจจาระลงในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ เพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ในเนื้อสัตว์
  • ล้างผักสดให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อโรคที่พบเป็นปกติทุกคนอยู่แล้ว ก่อโรคแต่ไม่มีความรุนแรง ดังนั้น ไม่ควรจะตื่นตระหนกกับการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น