โยคะท่าสะพาน Bridge Pose ท่าโยคะพื้นฐาน ที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อแผ่นหลัง และ กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน ของคุณแข็งแรงและยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี
ท่าโยคะ Bridge Pose เป็นท่าที่ทำง่าย เหมาะสำหรับสาวๆ เหมาะสำหรับการฝึกโยคะท่านี้ทุกๆวัน เพราะลักษณะท่าทางที่ไม่ต้องใช้ความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถฝึกโยคะท่านี้ได้ง่ายสำหรับมือใหม่ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราใส่กางเกงยีนส์ได้ดูดีและสวยงามมากขึ้น หรือใส่ชุดว่ายน้ำได้หนุ่มๆ หันมองกันเพียบ การฝึกท่าโยคะ Bridge Pose ยังช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแกร่ง สำหรับคุณสาวๆที่เป็นนักกีฬา และยังทำให้ลดโอกาสอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้
ท่าสะพาน เป็นท่าที่ทำแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายมาก เนื่องจากช่วยยืดกล้ามเนื้อร่างกายได้เกือบทุกสัดส่วน อีกทั้งยังสามารถช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายออกไปได้มากโข โดยเฉพาะส่วนหน้าท้อง, สะโพก หลัง, ไหล่, แขน และมือ และถ้าหากอยากเพิ่มการเผาผลาญไขมัน แนะนำให้ลดตัวลงจนเกือบจะติดพื้น และค่อย ๆ ดึงร่างกายขึ้นไปยังตำแหน่งเดิม คล้าย ๆ การวิดพื้น
วิธีการฝึกโยคะท่าสะพาน ( Bridge Pose )
- เพียงแค่คุณนอนหงายราบลงกับพื้น กำหนดลมหายใจเข้าออก ให้จิตของคุณจดจ่ออยู่กับส่วนที่คุณต้องการผ่อนคลาย
- จากนั้นชันเข่าขึ้นแล้วแยกเท้าให้อยู่แนวเดียวกับสะโพกของคุณ วางแขนไว้แนบกับลำตัว
- ค่อยๆยกสะโพกขึ้นสูงจนก้นกบมาอยู่แนวเดียวกับหัวเข่าของคุณ ส่วนหน้าอกให้อยู่เหนือไหล่ โดยที่เท้าทั้งสองข้างสามารถขยับเข้าหาตัวคุณได้เล็กน้อย ในกรณีที่ยกตัวขึ้นแล้ว รู้สึกไม่ถนัด หรือไม่ผ่อนคลาย ให้หายใจเข้าและหายใจออกตามปกติเพื่อให้ปอดได้ขยายตัว เมื่อรู้สึกผ่อนคลายแล้วก็วางตัวลงราบกับพื้นเช่นเดิม
ประโยชน์ของการฝึกโยคะท่าสะพาน
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับทรวงอกและปอด
- ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ส่วนหลัง หน้าท้อง หัวไหล่ แขน และมือ
- ช่วยลดอาการปวดหลัง
- ทำให้บุคลิกภาพดี มื่อมีกล้ามเนื้อแกนหลักและกล้ามเนื้อต้นขาที่รับน้ำหนักของเราที่แข็งแรงมากขึ้นแล้ว ทำให้ท่าทางต่างๆ ไม่ว่าจะยืน เดินหรือนั่งของเรามั่นคงแข็งแรง ดูดีมากขึ้น ยังรวมไปถึงการเปิดไหล่ให้ผายออกในตอนฝึกก็ช่วยปรับให้เราไหล่กว้าง
ข้อห้ามสำหรับการฝึกโยคะท่าสะพาน
- คนที่มีภาวะโรคหัวใจ และ โรคความดันโลหิต ทัั้ง ความดันโลหิตสูง และ ความดันโลหิตต่ำ ห้ามทำท่านี้
- คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังให้งดปฏิบัติท่านี้
- คนที่มีภาวะท้องร่วงอยู่ ให้งดการทำท่านี้
- สำหรับคนที่ปวดหัวอยู่ให้งดการทำท่านี้
การออกกำลังกายโยคะ ท่าสะพาน Bridge Pose สามารถทำซ้ำไปมาแบบนี้ตามต้องการ อาจจะเริ่มตั้งแต่ 5 ครั้งก่อนในครั้งแรก จากนั้นค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้นในคราวต่อไป
หากหมั่นฝึกฝนให้สม่ำเสมอแล้ว จะพบว่าแผ่นหลังของคุณแข็งแรงขึ้นจนสามารถฝึกฝนต่อเนื่องไปสู่ท่าโยคะที่ยากขึ้น ท่าโยคะที่ยากขึ้นไปเปรียบเสมือนผลตอบแทนของความแข็งแรงที่เกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอของคุณนั่นเอง
โยคะท่าสะพาน Bridge Pose นอกจากจะช่วยฝึกฝนความแข็งแรงแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อแผ่นหลังที่เมื่อยล้ามาจากการนั่งเป็นเวลานานๆ จากการทำงาน และท่านี้ยังช่วยผ่อนคลายไปจนถึงส่วนบั้นเอวลงไปอีก การเล่นโยคะยังเป็นการฝึกฝนสมาธิ ให้จิตจดจ่ออยู่กับตัวเองให้มากขึ้น ปล่อยวางภาระหน้าที่ ที่ทำให้คุณเกิดภาวะเครียดและกังวลเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย ใช้เวลาอยู่กับตัวเองอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เหนื่อยและเมื่อยล้า ซึ่งหลายคนเรียกว่าโยคะบำบัด ปัจจุบันผู้คนส่วนมากยุ่งอยู่กับการทำงานหาเงินจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน และนั่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนต่างพากันเจ็บป่วยด้วยโรคแปลกกันมากขึ้น หลักๆหลายคนทำงานหาเงินมาเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดกับตัวเอง หากเพียงแค่คุณหันมาดูแลใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย อย่างน้อยให้เวลากับตัวเอง 1 ชั่วโมงต่อวัน
โยคะท่าสะพาน Bridge Pose จึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อหาเวลาผ่อนคลายและสร้างความแข็งแรงให้กับตัวเอง เพราะเป็นท่าโยคะที่ง่าย และสามารถทำได้ในทุกสถานที่ อย่ารอให้คุณป่วยก่อนแล้วค่อยหาเวลาดูแลตัวเองเลย เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าครั้งหน้าคุณจะป่วยด้วยโรคอะไร เริ่มมาใส่ใจดูแลตัวเองกันตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า
โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี
แหล่งอ้างอิง
- Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
- Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
- Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102