ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA อาการแผลอักเสบ ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เสียชีวิตได้
โรคติดเชื้อMRSA คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่พบในสัตว์จำพวก ม้า แมว หมู แกะ กระต่าย สามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้และแสดงอาการต่างๆจากน้อยจนถึงขั้นอาการรุนแรง เช่น ผิวหนังอักเสบ ฝี อาหารเป็นพิษ ปอดบวม ลิ้นหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตได้
การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )สามารถทนทานต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ รวมถึง ยาเมธิซิลิน และยาปฏิชีวนะอื่นๆที่ใช้กันทั่วไป การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ส่วนมากเกิดขึ้นในคนที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยอยู่ภายใน บ้านพักดูแลผู้ป่วย หรือได้รับการรักษาในศูนย์อนามัยที่มีการจัดให้เป็นศูนย์ล้างไต เป็นต้น
ชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
เราสามารถแบ่งชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย HA-MRSA และ CA-MRSA โดยรายละเอียดชนิดของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus มีดังนี้
- HA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในโรคพยาบาล มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือ ศูนย์ล้างไต เป็นต้น
- CA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในชุมชน มักเกิดเชื้อในโรงเรียนมัธยม สนามกีฬา ผู้ที่อาศัย คุก หรือ ค่ายทหาร จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA ที่สูงขึ้น โดยจะติดต่อผ่านทางการสัมผัส
สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
สาเหตุของการติดเชื้อมาจากแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลิน เราพบว่าเชื้อโรคสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ โดยการติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) พบได้บ่อยในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
แบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) เป็นแบคทีเรียอาศัยอยู่ในผิวหนังหรือโพรงจมูกของคนที่มีสุขภาพดี โดยคนที่มีสุขภาพดีเหล่านี้ไม่แสดงอาการแต่เป็นพาหะนำเชื้อโรค ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ระบบปัสสาวะอักเสบ ปอดอักเสบ และอาการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงอาการอาหารเป็นพิษ
กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
ส่วนมากกล่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) คือ กลุ่มคนที่มีทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล เพราะจากสถิติการเกิดโรคของผู้ป่วย MRSA พบในโรงพยาบาล ซึงสามารถสรุปกลุ่มที่มีความเสี่ยงการติดเลื้อ มีดังนี้
- ผู้ป่วยอ่อนแอ ที่อยู่ห้อง ICU
- ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด
- ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทางกระดูก
- ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการล้างไต
- ผู้ที่ติดยาเสพติด
- กลุ่มบุลลากรที่ทำงานในสถานพยาบาล เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น
อาการผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
สำหรับลักษณะอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) เข้าสู่ร่างกาย ลักษณะทั่วไปของอาการ ผู้ป่วยจะเกิดตุ่มเล็กๆเหมือนโดนแมลงสัตว์กัดต่อย ลักษณะเป็นแผลแดง บวม และมีอาการปวด รู้สึกอุ่นๆที่แผล จากนั้นแผลจะมีหนอง และ อาจมีไข้ขึ้น
หากเป็นแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ชนิด HA-MRSA ผู้ป่วยจะแสดงอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไข้หนาวสั่น ปวดหัว มีผื่นขึ้น และ เป็นแผลเรื้อรัง
หากเชื้อโรคลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆจะแสดงอาการตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ ข้อกระดูกอักเสบ และ ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
แนวทางการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถใช้การประคับประครองตามอาารร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น การใช้ยากลุ่ม penicillin erythromycin ทั้งนี้ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
การป้องการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )
แนวทางการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถทำได้ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงปัจจัยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น เพราะ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสีย เนื่องจากอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา
- ป้องกันการเกิดแผล หากเกิดแผลต้องรีบรักษา อย่างให้แผลติดเชื้อ รักษาแผลให้สะอาด
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หรือ ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องากรของร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาดปราศจากแหล่งเชื้อโรค
มาตรการที่ตั้งเป้าไว้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA รวมถึงการติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง MRSA ในชุมชนด้วย สำหรับการป้องกันการติดเชื้อชนิดที่สองนั้น สิ่งสำคัญ คือ การรักษาบ้านเรือนให้สะอาด และปราศจากฝุ่นละออง ควรซักล้าง ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ (เช่น โถส้วม ห้องอาบน้ำ) ของเล่นเด็ก และผ้าปูที่นอน (ด้วยน้ำยาทำความสะอาดภายในบ้านแบบเจือจาง) เป็นประจำ