มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร กินเค็มจัด ของหมักดอง อาการอุจจาระมีเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักลด ปวดท้อง ก้อนเนื้อที่ลิ้นปี่มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ โรคจากการเกิดเนื้อร้ายชนิดหนึ่ง ที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายหรือเซลล์นั้นเกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จนเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร แต่สามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด รังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้ มะเร็งกระเพาะอาหารมีสาเหตุของโรคอย่างไร อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคทำอย่างไร สำหรับคนที่กลัวโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การเกิดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากพบว่าญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารต้องหมั่นตรวจสุขภาพบ่อยๆ
  • การติดเชื้อแบตทีเรีย เฮลโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อโรคที่ทำใหเเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสามารถลามเกิดเนื้อร้ายในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด เป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งหลายรวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน อาหารที่มีดินประสิวเจือปน เป็นต้น
  • กินผักและผลไม้น้อย เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีกากใยอาหาร ที่ช่วยในการล้างและทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า ๒๐ ปี
  • การเกิดเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้ ซึ่งเนื้องอกบางชนิดสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั้น สามารถแบ่งระยะของโรคได้ เป็น 4 ระยะ ตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งรายละเอียดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 เนื้อร้ายอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหาร ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 เนื้อร้ายมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วอวัยวะภายในของร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มต้นนั้น มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด มีลักษณะอาการ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารธรรมดา หรือ โรคแผลที่กระเพาะอาหาร ซึ่งลักษณะ อาการ ดังนี้ อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังกินข้าว คลื่นไส้เล็กน้อยแต่มักไม่อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก เป็นต้น

เมื่อเกิด มะเร็ง รุนแรงมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ลักษณะอาการ คือ มีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จะพบว่าเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ตาเหลือง ตัวเหลือง มีน้ำในช่องท้อง หายใจลำบาก เป็นต้น

วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารของแพทย์ทำอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางแพทย์จะมีวิธีในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่น ลักษณะของอาการปวดท้อง สีของอุจจาระ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน
  • ทำการเอกซเรย์กลืนแป้ง
  • อัลตราซาวน์ระบบภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของโรค
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง เพื่อดูร่องรอยของโรคที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เบาหวาน การทำงานของไต การทำงานของตับ และดูระดับเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งชนิดซีอีเอ (CEA)
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและปอด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหารนั้น มีวิธีการในการรักษาอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และการประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีดังนี้

  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่จะใช้ในการรักษา การผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารออกจากร่างกายออกก่อน
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การใช้เคมีบำบัดนั้นทำเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อร้าย ซึ่งการใช้เคมีบำบัดจะทำร่วมกับการฉายรังสี
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการรังสี ทำเพื่อบรรเทาอาการและลดการแพร่กระจายของเนื้อร้าย
  • การรักษาด้วยการประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะอื่นๆที่ได้รับผลกระทบค่อยๆฟื้นตัวและหายเอง

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพ 100 % แต่การลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หลีกเลี่ยงการกินของหมักดอง หลีกเลี่ยงกินอาหารเค็มจัด เลิกการดื่มเหล้าและเลิกการสูบบุหรี่  รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) คิือ การเกิดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร สาเหตุของโรคจากการกิน เค็มจัด ของหมักดอง อาหารเจือปนดินประสิว มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะแรกคล้ายโรคกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อแสดงอาการชัดเจน จะมีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลง ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ การรักษาและดูแลเมื่อเป็นมะเร็ง

กาฬโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis จากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้นิ้วเน่าจากการขาดเลือดกาฬโรค โดนหมัดหนูกัด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

การติดเชื้อกาฬโรคในคน

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ วิธีรักษากาฬโรค

อาการของกาฬโรค

สำหรับอาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย Bubonic plague, Septicemic plague และ Pneumatic plague รายละเอียดของแต่ละกลุ่มอาการมีดังนี้

  • Bubonic plague  อาการชนิดนี้พบบ่อย อาการจะแสดงหลังจากถูกหมัดหนูกัด ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเข้าไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองจะแสดงอาการ บวม ถ้ากดจะรู้สึกเจ็บอาการปวดจะมากขึ้น และจะขยับแขน ขาไม่ได้ในเวลาต่อมา สังเกตุง่ายๆจาก ต่อมน้ำเหลืองโต กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • Septicemic plague อาการชนิดนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปในกระแสโลหิต จะทำให้ผู้ป่วย ไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก หนูก้น ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อค และนิ้วเน่า จากการขาดเลือด
  • Pneumatic plague อาการชนิดนี้พบไม่มากแต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการสูดเอาเชื้อโรคเช้าทางจมูก ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไ่ม่มีแรง ไอและมีเสมหะ เจ็บหน้าอก มีอาการอวก

การรักษากาฬโรค

สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาป้องกันเมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกาฬโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

โรคแทรกซ้อนของกาฬโรค

สำหระบโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค ประกอบด้วย นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวม การหายใจล้มเหลว โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกาฬโรค สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ และต้องรักษาสุขอนามัย ให้สะอาด และกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ให้มีหนูอยู่ในที่พัก การดูแลตนเอง และการป้องกันกาฬโรค ได้ดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

กาฬโรค ( Peapue ) โรคติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis เกิดจากโดนหมัดหนูกัด หนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยอาจช็อค และ นิ้วเน่าจากการขาดเลือด การรักษากาฬโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove