ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา ภาวะติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา Chikungunya virus มียุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ผื่นขึ้นตามตัว ไม่อันตรายถึงชีวิต

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกัน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เหมือน โรคไข้เลือดออก  แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ โรคชิคุณกุนย่า เกิดจากยุงลายที่มีเชื้อโรคไปกัดมนุษย์และแพร่เชื้อโรคสู่คน ทำให้คนนั้นเกิดโรคได้  สำหรักการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
  2. เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
  3. ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
  4. ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

สำหรับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย พบตาแดง จะปวดข้อ ซึ่งบางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ตาม ข้อมือ ข้อเท้าและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับวิธีรักษาโรคชิกุนยา จากที่กล่าวในข้างต้นยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคติดต่อนี้ได้ ทำได้เพียงประครองและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ รักษาสุขภาพ

การป้องกันโรคชิกุนย่า

วิธีการป้องกันโรคชิกุนยา ขณะนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีน ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคติดเชื้อ โดยการไม่ให้ยุงลายกัด โดยเราได้สรุปการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ดังนี้

  1. การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  4. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  6. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัวสะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรากระเพรา

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ( Chikungunya virus ) ยุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ไม่อันตรายถึงชีวิต แนวทางการรักษาและป้องกันโรค

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไต รักษาและ ป้องกันอย่างไร

โรคอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาโรค และ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้น การป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา อาการของป่วยจะแสดงอาการภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค โดยจะมีไข้สูง เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

การติดเชื้อไวรัสอีโบลา มาจากไหน  อีโบล่าเกิดจาก เชื้อไวรัสอีโบล่า ที่พบได้ในลิงซิมแปนซี สามารถติดสู่คนได้ จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ การรับประทานสัตว์ป่า ที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยลักษณะของการติดเชื้อมี 3 ลักษณะดังนี้

  1. การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  2. การสัมผัสเลือด ของเหลว หรือ สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
  3. การสัมผัสผุ้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการการติดเชื้อ Ebola

โดยการติดเชื้ออีโบล่านั้น มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดไวรัสอีโบล่า ในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษา หรือฆ่าเชื้อไวรัสอีโบล่าในร่างกายมนุษย์ได้ สิ่งที่สามารถทำได้โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ๊อกซิเจนในร่างกาย และป้องกันอาการแทรกซ้อนจากการติดโรคอื่น ตัวอย่างอาการแทรกซ้อนที่พบ คือ หลายอวัยวะล้มเหลว เลือดออกรุนแรง ดีซ่าน ชัก หมดสติ ช็อค ตับอักเสบ อ่อนแรง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola )

การป้องกันโรคระบาด จากการติดเชื้อไวรัส ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื่้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนตัวผู้ป่วย รักษาสุขอนามัยให้สะอาด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา ( Ebola ) เกิดจากติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง รักษาอย่างไร ป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove