เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อโรค การรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ พักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง

เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง โรคตา โรคติดเชื้อ

เยื่อบุตา ( Conjunctiva ) คือ เยื่อตาของคนเรา ซึ่งจะมีเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว การที่เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้ หรือ เกิดจากการติดเชื้อโรคบางอย่าง

ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเยื่อบุตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากสาเหตุต่างๆ ทำให้เกิดความผิดปรกติที่ดวงตา สังเกตุได้จาก ตาเป็นสีแดง รู้สึกคัน หรือ แสบตา ร่างกายสามารถหายเองได้

เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก และ สามารถตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดวงตาสัมผัสสิ่งระคายเคือง จึงเป็นโอกาสทำให้ดวงตาเกิดการอักเสบได้ ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนมากไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถซ่อมแซมและรักษาให้หายได้เองภายใน 14 วัน

ชนิดของโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับการแบ่งชนิดของอาการเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ Seasonal allergic conjunctivitis , Perrennial allergic conjunctivitis และ Atopic Keratoconjuntivitis รายละเอียดของชนิดการอักเสบของเยื่อบุตา มีดังนี้

  • Perrennial allergic conjunctivitis เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่พบไม่มากเท่าชนิดแรก อาการเหมือนชนิดแรกแต่เบากว่า
  • Seasonal allergic conjunctivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในสาเหตุที่มาจากภูมิแพ้ โดยอาการสำคัญ คือ มีน้ำตาไหล เคืองตา เกิดกับดวงตาทั้งสองข้าง และมักจะเป็นตามฤดูกาล
  • Atopic Keratoconjuntivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดร่วมกับการเกิดผื่นของผิวหนังที่หนังตาและใบหน้า โดยจะพบว่ามี อาการตาแดง เคืองตา คันตา และมีน้ำตาไหล

สาเหตุของโรคเยื่อตาอักเสบ

สาเหตุของการเกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแยกสาเหตุของการเกิดโรคจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่ง มีปัจจัย 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อโรค และ การเกิดภูมิแพ้ รายละเอียด ดังนี้

  1. สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมีสาเหตุจากทั้งไวรัสและแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ เชื้อไวรัส Picornavirus หรือ ไวรัส Adenovirus ส่วน เชื้อแบคทีเรียที่พบ คือ เชื้อแบคทีเรีย Clamydia เป็นเชื้อแบคทีเรียอันตราย จากริดสีดวงตา เป็นสาเหตุให้คนตาบอดจำนวนมาก
  2. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดการได้รับการระคายเคืองดวงตา เช่น อาหารทะเล ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น

อาการของเยื่อตาอักเสบ

การแสดงอาการของโรคเยื่อตาอักเสบจะแสดงอาการที่ดวงตา คือ ตาแดงที่ตาขาวหรือเปลือกตาด้านใน มีอาการคันและแสบที่ตา สายตาพล่ามัว เยื่อบุตามีอาการบวม มีน้ำตามากผิดปกติ น้ำตาไหลและตาแฉะ มีเม็ดเล็กๆอยู่ในตา สายตามีความไวต่อแสง ขี้ตาเหลืองติดที่เปลือกตาจำนวนเวลาตื่นนอน และ มีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ อาการหวัด เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการเยื่อบุตาจะแสดงอาการต่างกันใน 3 ลักษณะ คือ อาการจากการระคายเคืองตา อาการจากการติดเชื้อ และ อาการจากภูมิแพ้ ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายดวงตา ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหลผิดปรกติ
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ผู้ป่วยจะแสดงอาการแสบร้อนที่ดวงตา รู้สึกเหมือนมีก้อนกรวดบริเวณดวงตา และ ที่ขนตาจะมีเมือกเหนียวเกาะอยู่
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะแสดงอาการคันตา มีอาการจามและหายใจไม่ออก ตาแห้ง รู้สึกเจ็บตา เกิดตุ่มไขมันเหมือนสิวขนาดเล็กๆที่เปลือกตาด้านบน

หากพบว่าเกิดอาการใดอาการหนึ่งในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

แนวทางการรักษาโรคเยื่อตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเยื่อบุตาอักเสบ เน้นรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรคและให้ร่างกายได้ฟื้นฟูร่างกายเอง แนวทางการปฏิบัติในการรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ มีดังนี้

  1. หยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ความสบายตา
  2. ทำความสะอาดและรักษาความสะอาดบริเวณใบหน้า
  3. ใส่แว่นกันแดด จะช่วยให้สบายตาขึ้นและป้องกันฝุ่นเข้าตา
  4. ใช้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการดูแลตัวเองเมื่อป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ของตนเอง หากรู้สึกระคายเคืองตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตา และ หากมีอาการบวมที่เปลือกตา ให้ใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

การป้องกันโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับสาเหตุและปัจจัยของโรคเยื่อบุตาอักเสบ คือ การได้รับการระคายเคืองดวงตา การติดเชื้อ และ อาการภูมิแพ้ แนวทางการป้องกันโรค คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้สวมแว่นเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนดวงตา จากสิ่งระคายเคือง และ เชื้อโรคต่างๆ
  • หากรู้ว่าตนเองมีภาวะภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการรับสารก่อภูมิแพ้สู่ร่างกาย
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ และ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ แนวทางการรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ การพักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง

ไวรัสอีโบลา ( Ebola ) การติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดต่ออันตราย อาการมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ยังไม่มียารักษาโรค การป้องกันทำอย่างไร

ไวรัสอีโลบ่า ไข้เลือดออกอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสอีโบลา ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค. ศ. 1976 ในประเทศซูดานใต้ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมถึงในหมู่บ้านที่ตั้งอยู้ใกล้กับแม่นํ้าอโบลา จึงตั้งชื่อไวรัสว่า อีโบล่า ซึ่งโรคในเวลาต่อมายังปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ซึ่งมีรายงานยืนยันว่า มีการระบาดของโรคไขเลือดออกอีโบลา ( EVD ) ในแอฟริกาใต้  การระบาดของโรคอีโบลาเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 การโรคระบาดที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พบเชื้อไวรัสอีโบล่า เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศให้ โรคไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เนื่องจาก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาก หากเกิดการระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ ไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาได้ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา เป็น โรคติดต่อ ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา โดยจะเริ่มมีอาการป่วย ภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่าในลิงซิมแปนซี ซึ่งสามารถติดสู่คนได้จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ และการรับประทานสัตว์ป่าที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเชื้อไวรัสอีโลบ่าจะอยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่มีเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งปัจจัยเสียงการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยปรกติแล้วอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาประกอบ ซึ่งปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า มีดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

แนวทางการวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบล่า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคอีโบลา แพทย์จะสังเกตุและสอบถามจากประวัติของผู้ป่วย ลักษณะของอาการโรคเบื้องต้น และ ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาโรคไวรัสอีโบล่าในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษาโรคได้ สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ็อกซิเจนในร่างกาย  เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น อวัยวะล้มเหลว เลือดออกอย่างรุนแรง อาการดีซ่าน อาการชัก หมดสติ อาการตับอักเสบ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำที่สุด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove