ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีความเป็นพิษ ทำให้อักเสบทั่วร่างกาย มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตัว คลื่นไส้ อ่อนแรง โรคร้ายแรงต้องรีบรักษาโลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเลือด

ภาวะโลหิตเป็นพิษ หมายถึง การที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายติดเชื้อ หรือ สารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ทำให้ความสามารถในการไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของเลือดลดลง  ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายมาก

โลหิตที่เป็นพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ได้ดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่สุงผลให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด มีหลายสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสุ่กระแสเลือด ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ป่วยโรคเอดส์ ผู้เป็นมะเร็ง
  • การรับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง เป็นต้น
  • ทารก ซึ่งเด็กยังไม่มีภูมคุ้มกันในร่างกายมากนัก
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งร่ายกายเริ่มเสื่อมลงตามอายุไข
  • ผู้ป่วยที่ต้องใส่สายต่างๆเข้าร่ายกาย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • คนที่มีแผลตามผิวหนัง เช่น แพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิต จะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะติดเชือในกระแสเลือด แบ่งออกเป็น 3 แนวทางรักษาหลักๆ ได้แก่ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการที่ต้นเหตุ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ เริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ จากนั้นใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีว สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

การรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ

  • การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
  • การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
  • การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
  • การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
  • การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

การป้องกันติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันโรค คือ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในทุกช่องทาง แนวทางการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด มีดังนี้

  • พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีเชื้อโรคมีความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายอักเสบทั่วร่างกาย อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย ต้องหาสาเหตุของเชื้อโรค เพื่อรักษา โรคร้ายแรง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove