โรคเบาหวานขึ้นตา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพดวงตา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  ทำให้ลานตาบวมน้ำ เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ (Diabetes retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา สัญญาณและอันตรายจากเบาหวานขึ้นตา นั้นในระยะแรกของโรคผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการสายตาพล่ามัว เห็นเงาคล้ายหยากไย่  บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ในบางรายไม่แสดงอาการเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตาสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยสามารถระบุลักษณะการเกิดโรคจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

การแสดงอาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่คุณภาพการมองเห็นที่ผิดปรกติ แต่ในระยะแรกจะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ ( macula ) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา เบื้องต้นต้องควบคุมโรคเบาหวาน หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อโรค การรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ พักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง

เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง โรคตา โรคติดเชื้อ

เยื่อบุตา ( Conjunctiva ) คือ เยื่อตาของคนเรา ซึ่งจะมีเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว การที่เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้ หรือ เกิดจากการติดเชื้อโรคบางอย่าง

ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเยื่อบุตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากสาเหตุต่างๆ ทำให้เกิดความผิดปรกติที่ดวงตา สังเกตุได้จาก ตาเป็นสีแดง รู้สึกคัน หรือ แสบตา ร่างกายสามารถหายเองได้

เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก และ สามารถตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดวงตาสัมผัสสิ่งระคายเคือง จึงเป็นโอกาสทำให้ดวงตาเกิดการอักเสบได้ ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนมากไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถซ่อมแซมและรักษาให้หายได้เองภายใน 14 วัน

ชนิดของโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับการแบ่งชนิดของอาการเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ Seasonal allergic conjunctivitis , Perrennial allergic conjunctivitis และ Atopic Keratoconjuntivitis รายละเอียดของชนิดการอักเสบของเยื่อบุตา มีดังนี้

  • Perrennial allergic conjunctivitis เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่พบไม่มากเท่าชนิดแรก อาการเหมือนชนิดแรกแต่เบากว่า
  • Seasonal allergic conjunctivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในสาเหตุที่มาจากภูมิแพ้ โดยอาการสำคัญ คือ มีน้ำตาไหล เคืองตา เกิดกับดวงตาทั้งสองข้าง และมักจะเป็นตามฤดูกาล
  • Atopic Keratoconjuntivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดร่วมกับการเกิดผื่นของผิวหนังที่หนังตาและใบหน้า โดยจะพบว่ามี อาการตาแดง เคืองตา คันตา และมีน้ำตาไหล

สาเหตุของโรคเยื่อตาอักเสบ

สาเหตุของการเกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแยกสาเหตุของการเกิดโรคจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่ง มีปัจจัย 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อโรค และ การเกิดภูมิแพ้ รายละเอียด ดังนี้

  1. สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมีสาเหตุจากทั้งไวรัสและแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ เชื้อไวรัส Picornavirus หรือ ไวรัส Adenovirus ส่วน เชื้อแบคทีเรียที่พบ คือ เชื้อแบคทีเรีย Clamydia เป็นเชื้อแบคทีเรียอันตราย จากริดสีดวงตา เป็นสาเหตุให้คนตาบอดจำนวนมาก
  2. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดการได้รับการระคายเคืองดวงตา เช่น อาหารทะเล ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น

อาการของเยื่อตาอักเสบ

การแสดงอาการของโรคเยื่อตาอักเสบจะแสดงอาการที่ดวงตา คือ ตาแดงที่ตาขาวหรือเปลือกตาด้านใน มีอาการคันและแสบที่ตา สายตาพล่ามัว เยื่อบุตามีอาการบวม มีน้ำตามากผิดปกติ น้ำตาไหลและตาแฉะ มีเม็ดเล็กๆอยู่ในตา สายตามีความไวต่อแสง ขี้ตาเหลืองติดที่เปลือกตาจำนวนเวลาตื่นนอน และ มีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ อาการหวัด เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการเยื่อบุตาจะแสดงอาการต่างกันใน 3 ลักษณะ คือ อาการจากการระคายเคืองตา อาการจากการติดเชื้อ และ อาการจากภูมิแพ้ ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายดวงตา ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหลผิดปรกติ
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ผู้ป่วยจะแสดงอาการแสบร้อนที่ดวงตา รู้สึกเหมือนมีก้อนกรวดบริเวณดวงตา และ ที่ขนตาจะมีเมือกเหนียวเกาะอยู่
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะแสดงอาการคันตา มีอาการจามและหายใจไม่ออก ตาแห้ง รู้สึกเจ็บตา เกิดตุ่มไขมันเหมือนสิวขนาดเล็กๆที่เปลือกตาด้านบน

หากพบว่าเกิดอาการใดอาการหนึ่งในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

แนวทางการรักษาโรคเยื่อตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเยื่อบุตาอักเสบ เน้นรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรคและให้ร่างกายได้ฟื้นฟูร่างกายเอง แนวทางการปฏิบัติในการรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ มีดังนี้

  1. หยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ความสบายตา
  2. ทำความสะอาดและรักษาความสะอาดบริเวณใบหน้า
  3. ใส่แว่นกันแดด จะช่วยให้สบายตาขึ้นและป้องกันฝุ่นเข้าตา
  4. ใช้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการดูแลตัวเองเมื่อป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ของตนเอง หากรู้สึกระคายเคืองตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตา และ หากมีอาการบวมที่เปลือกตา ให้ใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

การป้องกันโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับสาเหตุและปัจจัยของโรคเยื่อบุตาอักเสบ คือ การได้รับการระคายเคืองดวงตา การติดเชื้อ และ อาการภูมิแพ้ แนวทางการป้องกันโรค คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้สวมแว่นเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนดวงตา จากสิ่งระคายเคือง และ เชื้อโรคต่างๆ
  • หากรู้ว่าตนเองมีภาวะภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการรับสารก่อภูมิแพ้สู่ร่างกาย
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ และ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ แนวทางการรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ การพักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove