ตาเหล่ Strabismus ลักษณะตาดำข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ ไม่ขนานกัน ดวงตาไม่ประสานกัน ตาเหล่มีกี่ชนิด ตาเหล่แท้ ตาเหล่เทียม การรักษาโรคสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
ตาเหล่ ภาษาทางการแพทย์ เรียก Strabismus คือ ภาวะตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการผิดปกติ โดยไม่ได้มีจุดโฟกัสในการมองเห็นเป็นจุดเดียว ภาวะลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน และการทำงานของดวงตาเมื่อมองวัตถุไม่ประสานกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติในการมองวัตถุ และในส่วนของดวงตาข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในห ด้านนอก ขึ้นบน หรือ ลงล่าง ก็ได้
ตาเหล่เทียม ( Pseudostrabismus ) คือ ภาวะตาเหล่ที่พบในเด็กเสียเป็นส่วนมาก เนื่องจากสันจมูกยังโตไม่เต็มที่และบริเวณหัวตากว้าง ( Epicanthus ) จึงทำให้ลักษณะเหมือนกับตาเหล่ แต่เมื่อร่างกายเจริญเติบดตเต็มีที่ตาเหล่จะหายเอง
ชนิดของอาการตาเหล่
โรคตาเหล่สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด มีรายละเอียด ดังนี้
- ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก
- ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน
- ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก
- ตาเหล่ขึ้นบน
- ตาเหล่ลงล่าง
ปัญหาของอาการตาเหล่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งผลเสียของอาการตาเหล่ ประกอบด้วย
- เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดของการตาเหล่ คือ ภาพดวงตาดำที่ผิดปรกติ ดูไม่สวยงาม ส่วนมากคนตาเหล่จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย มักไม่ค่อยสู้หน้าคน สิ่งนี้จะเปิดการปั่นทอนจิตใจอย่างช้าๆโดยไม่รู้ตัว
- การเกิดบุคลิกภาพที่ผิดจากบุคคลทั่วไป โดยคนตาเหล่จะมีโฟกัสภาพที่ไม่ปรกติก ในคนตาเหล่จะใช้การหันหน้าเอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งทำให้บุคลิกผิดไปจากคนทั่วไป
- ความสามารในการมองเห็นน้อยกว่าคนตาปกติ เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันหรือเรียกว่าต่างคนต่างทำ ต้องใช้ตาข้างเดียวเป็นหลัก จึงมองวัตถุเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้ทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีนัก เช่น งานเย็บปักถักร้อยหรืองานฝีมือต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าการมองเห็นที่ดีที่สุดคือต้องมองเห็นภาพเป็น 3 มิติในวัตถุขนาดเล็ก ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยตาที่เห็นชัดทั้ง 2 ข้าง และทำงานประสานสอดคล้องกันเสมอ
- เกิดภาวะตาขี้เกียจ เรียก Amblyopia ถากปล่อยทิ้งไว้ดดยไม่แก้ไข อาจถึงขั้นตาบอดได้
สาเหตุของการเกิดโรคตาเหล่
สำหรับการเกิดโรคตาเหล่นั้นเกิดจากหลายปัจจัย อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ
- ภาวะทางพันธุ์กรรม โรคตาเหล่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมได้
- ความผิดปรกติของสายตาของผู้ป่วยเอง การใช้สายตาเพ่งบ่อยๆหรือกล้ามเนื้อตาขาดสมดุล สามารถทำให้เกิดตาเหล่ได้
- ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สมดุล
- ความผิดปรติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อตา เช่น เนื้องอกในสมอง มะเร็งในส่วนศีรษะ มะเร็งส่วนลำคอ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ
- ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลอันตรายต่ออาการตาเหล่ เช่น โรคเอเพิร์ท ( Apert Syndrome ) โรคสมองพิการ ( Cerebral Palsy: CP ) โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด ( Congenital Rubella ) เนื้องอกหลอดเลือดชนิดฮีแมงจิโอมา ( Hemangioma ) โรคอินคอนติเนนเทีย พิกเมนไท ซินโดรม ( Incontinentia Pigmenti Syndrome ) โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม ( Prader-Willi Syndrome ) โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด ( Retinopathy of Prematurity: ROP ) โรคมะเร็งจอตาในเด็ก ( Retinoblastoma ) เป็นต้น
การรักษาโรคตาเหล่
สำหรับแนวทางการรักษาโรคตาเหล่ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่องมือร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และ การผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดของการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ มีดังนี้
- การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์และการทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการปรับบุคลิกภาพและความสามารการมองเห็นให้เป็นปรกติให้ได้มากที่สุด เช่น การใส่แว่น การฝึกกล้ามเนื้อตา การฉีดนาที่กล้ามเนื้อ เป็นต้น รายละเอียดของการรักษาด้วยวิธีนี้ มีดังนี้
- การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
- ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
- การฝึกกล้ามเนื้อตา
- การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
- การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
- การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพื่อทำให้ตาตรง การรักษาด้วยการผ่าตัดควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เด็ก หากไม่ยอมรักษาตั้งแต่เด็ก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะไม่สามารถกลับมาปรกติ เหมือนการรักษาตั้งแต่เด็กได้
การดูแลผู้ป่วยตาเหล่หลังการผ่าตัด
หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าตัดไว้ 1 วัน จากนั้นก็สามารถเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ แต่ในการนอนนั้นให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการถูกกระทบกระเทือนในช่วงสัปดาห์แรก และไม่ควรให้น้ำเข้าตาเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้
หลังจากการผ่าตักรักษาตาเหล่และผ่าช่วงของการดูแลในสัปดาห์แรก จะทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างก็จะดีขึ้น
การป้องกันโรคตาเหล่
สำหรับการป้องกันนั้นป้องกันได้ยาก เนื่องจากปัจจัยการเกิดโรคควบคุมไม่ได้ การป้องกันตาเหล่ต้องเริ่มจากการป้องกันที่สาเหตุและหากพบว่ามีอาการตาเหล่ให้รีบรับการรักษาอย่างเร็ว ผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสกลับมามีดวงตาที่มองเห็นได้ปกติ รวมทั้งการมองเห็นความลึกของสิ่งต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคที่ทำให้เกิดอาการตาเหล่