ไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง เกิดจากไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย ไขมันในเส้นเลือดสูงไขมันพอกตับ ไตรกรีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันเกาะที่ตับ โรคตับ

สำหรับ ภาวะไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกิดมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบมากถึง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดที่ ร้อยละ 9 ของจำนวนประะชากร ซึ่งเกิดกับประชากรอายุ 40 ถึง 50 ปี ที่อัตราการเผาผลาญไขมันเริ่มลดลง แต่ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกของการเกิดโรค

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ คนอ้วน รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันโลหิตสูง พบว่าร้อยละ 90 ของคนกลุ่มนี้ เป็น โรคไขมันพอกตับ ซึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า ท่านกำลังจะเป็น โรคไขมันพอกตับ คือ

  • การเกิดไขมันสะสมที่หน้าท้อง และมีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • เจ็บและตึงๆ ที่ชายโครงด้านขวา
  • มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง

ภาวะไขมันพอกตับ นั้นเป็นความผิดปกติของตับ ไม่ต้องดื่มสุรามากก็เกิดได้ ที่สำคัญการที่เกิดภาวะไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้ในอนาคต

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์สะสมในร่างกาย
  • ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้อยคุณภาพ

กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้น ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหาร หากมีการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เมื่อตับไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ตามปรกติ จึงทำให้ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้ 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียด ดังนี้

  • ไขมันพอกตับ ระยะแรก ในระยะนี้ เริ่มมีไขมันก่อตัวที่เนื้อตับ ในระยะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ หรือ เกิดพังผืดที่ตับ
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตับอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้อักเสบ โดยไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และ จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม เริ่มเกิดผังผืดที่ตับ และ เนื้อตับจะค่อยๆถูกทำลาย เป็นการอักเสบของตับอย่างรุนแรง
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สี่ ในระยะนี้ เนื้อตับจะถูกทำลายมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ จะเริ่มเข้าสู่ การเกิดโรคตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ได้

อาการของผู้ป่วยไขมันพอกตับ

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการตับอักเสบ ซึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้อง ปวดชายโครงด้านขาว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาการของโรคนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเกิดตับอักเสบ จึงจะพบว่าเกิดโรคไขมันพอกตับ

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะสัมภาษณ์ถึงลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าเอนไซม์ของตับ ทำการอัลตร้าซาวด์ดูภาพของตับ รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

แนวทางการรักษาไขมันพอกตับ ต้องมุ่งไปที่การลดไขมันสะสมที่ตับ และรักษาอาการอักเสบของตับร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งอาการของโรค ผู้ป่วยต้องรับประทานยา รักษาเบาหวานและยาลดไขมันที่ตับ แต่จะให้ดีที่สุดก็คือ ลดอาหารหวาน ลดอาหารมัน และออกกำลังกาย

การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สามารถปฏิบัติตนได้ โดยการลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการควบคุมเรื่องการกินอาหาร ไม่ให้อ้วน จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

  • ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยูในเกิดปรกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
  • การควบคุมอาหารให้พอประมาณ
  • ลดและเลิกการดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการกินยาโดยไม่จำเป็น

ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

สำหรับผุ้ป่วยโรคไขมันพอกตับต้องดูแลตนเอง ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกินยาต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ นั้นเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดพลังงานสะสมในร่างกายมากเกินไป การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย สามารถทำได้โดย

  1. ลดการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ข้าว แป้ง
  2. งดกินอาหารประเภทไขมัน เช่น อาหารทอด หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น เป็นต้น รวมถึงอาหารประเภทกะทิด้วย
  3. ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ เป็นต้น
  4. เลิกดื่มสุราทุกชนิด
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

สำหรับคนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรควบคุม และรักษาโรคควบคู่กันไป เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น

โรคไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน โรคเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง

ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น