ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) คนไทยชอบเรียกโรคนี้ว่า โรคพุ่มพวง เกิดจากฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อโรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคไม่ติดต่อ

โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อ โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง ทางการแพทย์เรียก Systemic lupus erythematosus เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายผิดปรกติ เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และ เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น เกิดการอักเสบของข้อและกระดูก กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ระบบเลือด โรคนี้จึงจัดอยู่ในโรคเรื้อรังโรคหนึ่งคำ จากสถิติของการเกิดโรคเอสแอลอี พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคมากกว่าเพศชาย มากถึง 7 เท่า แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะพบว่าในผู้ป่วยที่มีผิวดำจะมีอัตราการเกิดที่สูงที่สุด รองลงมาเป็น หญิงเอเชีย และ หญิงผิวขาวตามลำดับ

สาเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอี

ในปัจจุบันการศึกษาทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดนัก แต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ระบบฮอร์โมนของร่างกาย และ ภาวะการติดเชื้อโรค เราสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสของการเกิดโรค มีดังนี้

  • เพศ เราพบว่าโรคนี้เกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การติดเชื้อโรงบางอย่าง ทั้ง เชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ชีวิตอยู่ในที่แจ้ง และถูกกระทบจากแสงแดดเป็นเวลานาน
  • การแพ้อาหารบางชนิด
  • การสูบบุหรี่
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำหนัก ยากันชัก ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
  • การพักผ่อนน้อย
  • การออกกำลังกายมากเกินไป

อาการของโรคเอสแอลอี 

ลักษณะของอาการของโรคแอสแอลอี นั้น อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และ เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เราจะแยกลักษณะของอาการโรคเอสแอลอีให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นมีดังนี้

  • เกิดความผิดปรกติที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการเกิดผื่นที่โหนกแก้ม สันจมูก และ เป็นแผลในปาก จะมีลักษณะของอาการผมร่วงร่วมด้วย
  • เกิดความผิดปรกกติที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะตามข้อเล็กๆ
  • เกิดความผิดปรกติที่ไต โดยสังเกตุจาก การปัสสาวะเป็นฟอง มีโปรตีนปนนปัสสาวะ
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบเลือด ทำให้ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ตัวซีด และพบจ้ำเลือดตามตัว
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบประสาท จะพบว่า มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง มีอาการชัก
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการแน่นหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และ เกิดการอักเสบของปอด และการติดเชื้อง่าย
  • เกิดความผิดปรกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เกิดความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กินอาหารไม่ได้

การรักษาโรคเอสแอลอี

สำหรับการรักษาโรคเอสแอลอี นี่น ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายขาด เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดนัก สิ่งที่ทำได้ คือการรักษาตามอาการและประคับประครองไม่ให้ แต่ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูขึ้นมาเอง โดย รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยข้อควรปฎิบัติสำหรับการรักษาโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น ไม่ตากแดดนานๆ ลดความเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง ออกกำลังกายอย่งสม่ำเสมอ และ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาส่วนมากจะเป็น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น

การรักษาตัวโรคเอสแอลอี นั้นต้องพักผ่อนให้ร่างกายแข็งแรง เราจึงได้ทำรายการข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มีรายละเอียดดังนี้

  • เมื่อจำเป็นต้องออกแดดเป็นเวลานาน ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หมวก และ พกร่มด้วย  พักผ่อนให้เพียงพอ
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับ และ พักผ่อนให้พียงพอ รวมถึงหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดบ้าง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ไม่ควรกินยาลดความอ้วน
  • หากร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มีหนองตามผิวหนัง เสมหะเขียว ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วย
  • หากต้องทำฟัน ให้ระวังเรื่องการติดเชื้อ โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำฟัน
    หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อทั้งหมด

การรักษาโรคเอสแอลอี นั้น ความสำคัญอยู่ที่การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยเอสแอลอีมีโอกาสเสี่ยงการเสียชิวิตได้ เช่น การเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะในร่างกายอย่างรุนแรง และรับการรักษาไม่ทัน หรือ การเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง การปรึกษาแพทย์จะเป็นส่วนที่ทำให้ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตได้มาก

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) โรคพุ่มพวง โรคลูปัส โรคเอสแอลอี มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เกิดจากความผิดปรกติของระบบฮอร์โมนร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายหลายๆส่วน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove