ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษากระเพาะอักเสบ แก้ท้องเสีย ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทยจะพบการปลูกกล้วยมากมายกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษ เรียก Cavendish banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa sapientum Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า เป็น ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง

กล้วยน้ำว้ากับสังคมไทย

กล้วยกับสังคมไทยเป็นพืชคู่ครอบครัวทุกครัวเรือน งานแต่งงานในประเพณีไทย ต้องมีต้นกล้วยเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งขันหมาก ทุกบ้านในประเทศไทยนิยมปลูกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้นเลย ใบกล้วย หงวกกล้วย หัวปลี ผลกล้วย สำหรับด้านอาหาร กล้วยน้ำว้า สามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก กล้วยหนึ่งต้นจะให้ผลครั้งเดียวจากนั้นจะตาย การขยายพันธุ์ของกล้วย ใช้การแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการบริโภคกล้วยเป็นอาหาร สามารถใช้ประโยชน์จากผลกล้วย และ ปลีกล้วย ซึ่งจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกล้วยน้ำว้า ขนาด 100 กรัม พบว่า สามารถให้พลังงาน 85 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม เถ้า 0.8 กรัม แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม และไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย การนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยน์ทางสมุนไพร สามารถนำ ผล หัวปลี และหยวกกล้วย มาใช้ได้ ดังนี้

  • ผลดิบของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน แก้ท้องเสีย
  • ผลสุกของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน เป็นยาระบาย
  • ยางของกล้วยน่ำว้า สามารถทำมาทาแผล ใช้เป็นยาสมานแผลห้ามเลือดได้ดี
  • หัวปลี นำมารับประทาน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเบาหวานได้

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง สมุนไพร พืชสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทย จึงพบเห็นการปลูกกล้วยอยู่มากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove