ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพร ไม้มงคล ต้นข่อยเป็นอย่างไร กิ่งข่อยใช้ทำแปรงสีฟันแบบโบราณ สรรพคุณของข่อยใช้แทนยาสีฟัน รักษาแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย

ข่อย สมุนไพร สรรพคุณของข่อย ประโยชน์ของข่อย

ข่อย สมุนไพรพื้นบ้าน รู้จักกันดีในสังคมไทย เป็นไม้ดัด ไม้ประดับ กิ่งของต้นข่อยมีสรรพคุณใช้แทนยาสีฟันได้ ยางของข่อยนำมาทำเป็นยาฆ่าแมลงได้ เนื้อไม้ข่อย ก็นิยมนำมาทำกระดาษ สำหรับสังคมไทยมีความเชื่อว่าต้นข่อย เป็นพืชศิริมงคล สามารถช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายอัปมงคลออกจากบ้านได้ สำหรับวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ข่อย สมุนไพรชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณด้านสมุนไพรอย่างไร บ้าง

ต้นข่อย เป็นพืชยืนต้น ชนิดหนึ่ง มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tooth brush tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นข่อย คือ Streblus asper Lour ชื่อเรียกอื่นๆของต้นข่อยอาทิเช่น กักไม้ฝอย, ตองขะแหน่ , ส้มพอ , ซะโยเส่ , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ข่อยจัดอยู่ในพืชตระกลูเดียวกันกับขนุน

มีการศึกษาสารเคมีที่อยู่ในต้นข่อย พบว่า มีสารต่างๆ ประกอบด้วย Asperoside (C31H48O9 ) ,trebloside(C31H46O10 ) , Kamaloside (C31H48O10 ) ,Indroside (C31H46O10 ) ,Strophalloside (C29H42O10.3H2O) ,Strophanolloside( C29H44O10.4H2O) , Glucokamaloside( C37H58O14 ) , Glucostrebloside (C37H56O15) , Sarmethoside (C30H46O10) Substance F (C31H48O10 ) , Substance G (C30H46O9 ) Substance H( C31H46O10 ), Di-o-acetyl derivative ,B-sitosterol , Glycoside , tannin

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย เป็นพืช ไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 15 เมตร มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทย สำหรับการขยายพันธ์ต้นข่อยนิยมใช้การปักชำ และการเพาะเมล็ด ซึ่งลักษณะของต้นข่อย มีดังนี้

  • ลำต้นข่อย ส่วนของลำต้นและกิ่งก้านของต้นข่อย สามารถคดงอ และสามารถดัดได้ มีความเหนียว เปลือกบางผิวขรุขระ ที่ต้นมียาง เป็นสีขาวข้น ลักษณะเหนียว จะซึมออกมาตามเปลือกของต้นและกิ่งก้าน ซึมออกมา
  • ใบของต้นข่อย เป็นใบเดี่ยว จะเรียงสลับตามกิ่งก้านของต้นข่อย ใบมีผิวสากๆ สีเขียว ใบหนา ลักษณะของใบจะรีและปลายแหลม
  • ดอกของต้นข่อย จะออกดอกเป็นช่อ ดอกจะมีสีขาวปนเหลือง ซึ่งดอกจะออกตามปลายกิ่ง และซอกใบ
  • ผลของต้นข่อย ผลมีลักษณะเหมือนไข่ ผลสดมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย

สรรพคุณของต้นข่อย

สำหรับ ประโยชน์ของต้นข่อย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น ตั้งแต่ ราก เปลือก กิ่ง เนื้อไม้ และเมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กิ่งของต้นข่อย นำมาใช้แทนแปรงสีฟัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ ไม่ปวดฟัน
  • เปลือกของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถช่วยรักษาแผล แก้ท้องร่วง ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ รักษาพยาธิที่ผิวหนัง
  • ยางของต้นข่อย มีสรรพคุณช่วยย่อยน้ำนม
  • รากของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถนำมารักษาแผล เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคคอตีบ รักษาโรคกระดูก แก้ปวดเส้นประสาท แก้ปวดเส้นเอ็น ใช้ฆ่าพยาธิได้ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เนื้อไม้ของข่อย สามารถนำมารักษาริดสีดวงจมูก
  • ใบของข่อย มีรสฝาดและมีฤทธ์ทำให้เมาได้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน แก้โรคไต ขับน้ำนม แก้บิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เมล็ดของข่อย มีรสมัน มีฤทธิ์ทำให้เมา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • ผลของต้นข่อย มีรสหวาน มีฤทธิ์ทำให้เมาและร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้กระษัย ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ข่อยด้านสมุนไพร

สารสกัดจากข่อยมีความเป็นพิษ หากถูกฉีดเข้าเส้นเลือด จะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และหัวใจ รวมถึงความดันของเลือด ทำให้เสียชีวิตได้ มีการสะกัดสารเคมีจากต้นข่อยและนำไปทดลองกับหนู พบว่าหนูมีอาการชัก และเสียชีวิต จากที่กล่าวมาข้างต้น ข่อยมีฤทธ์ทำให้เมา หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพรพื้นบ้าน ไม้ประดับ กิ่งข่อย สรรพคุณใช้แทนยาสีฟัน ยางของข่อย ทำยาฆ่าแมลง ลักษณะของต้นข่อย เนื้อไม้ข่อย นำมาทำกระดาษ พืชมงคล ช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน โทษของข่อย ต้นข่อย

มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove