เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove