กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) สมุนไพร โปรตีนสูง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์และถั่วแดง ช่วยขับพิษ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก

ถั่วแดง ถั่วแดงหลวง ประโยชน์ของถั่วแดง สมุนไพร

ต้นถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งถั่วแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้เป็นอาหารแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี  สำหรับประเทศไทยปลูกถั่วแดง มากในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ถั่วแดงในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถั่วแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดย ประโยชน์ของถั่วแดง นั้นส่วนใหญ่คนนิยมนำถั่วแดง มาทำอาหาร ประเภทขนม เป็น เมนูถั่วแดง เช่น ถั่วแดงกวน ขนมปังไส้ถั่วแดง น้ำถั่วแดง เค้กชาเขียวถั่วแดง วุ้นถั่วแดงกวน โดรายากิ ซุปถั่วแดง ถั่วแดงอัดเม็ด เป็นต้น แต่ ประโยชน์ของถั่วแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ระบบการย่อยอาหาร และใช้บำรุงร่างกาย  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้นถั่วแดง และ สรรพคุณของถั่วแดง การปลูกถั่วแดง ว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ เราจะได้รู้จักกับถั่วแดงไปพร้อมกัน

ถั่วแดง หรือ ถั่วแดงหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ถั่วแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phasecolus vulgaris L. เป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง อาทิ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วบ้านนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็น พืชล้มลุก จัดเป็น พืชคลุมดิน มีความสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดียว เรียงสลับกันตามลำต้น ใบลักษณะรูปรี มีสีเขียว ดอกเป็นช่อ สีขาว และผลมีลักษณะยาว เหมือนถั่วฝักยาว ภายในมีเมล็ด เป็นสีแดงอมม่วง การขยายพันธ์ของต้นถั่วแดงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด จัดว่าเป็นพืชอายุสั้น

คุณค่าทางอาหารของถั่วแดง

จากศึกษา ประโยชน์ด้านอาหารของถั่วแดง พบว่าในเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม การใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วแดง

สำหรับ การใช้ประโยชน์ของถั่วแดง ด้านการรักษาโรคนั้น จะใช้การรับประทานเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยกำจัดหนอง ช่วยลดคันตามผิวหนัง ป้องกันอาการเหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยสร้างภูมิกันร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอุณหภมูิในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนักตัว ช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดบุตรก่อนกำหนด

ประวัติของถั่วแดงหลวง

สำหรับ ประวัติการปลูกถั่วแดงในประเทศไทย เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น จึงได้แนะนำให้ชาวเขาปลูกถั่วแดง ซึ่งเป็นพันธ์ถั่วแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถั่วแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ของภาดเหนือของไทย ถัวแดง จึงถูกเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่ง ว่า “ถั่วแดงหลวง” เพราะเป็นพืชพระราชทานให้ปลูก

การปลูกถั่วแดง
สำหรับ การปลูกถั่วแดง ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกถั่วแดง คือ พื้นที่ราบ ระดับความสูงประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร ถั่วแดงชอบดินร่วนเหนียว เป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม
  • สำหรับฤดูการปลูกถั่วแดง ที่เหมาะสมนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ก.ค.-ส.ค. ช่วงปลายฤดูฝน พ.ย.-ธ.ค. และ ช่วงฤดูหนาว พ.ย.-ก.พ.
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกถั่วแดง ให้ขุดดินให้ร่วนซุย ทำร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน กำจัดวัชพืชให้หมด
  • การปลูกถั่วแดง ให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซ็นติเมตร ในหนึ่งหลุมหยอด ประมาณ 2 ถึง 3 เมล็ด ต่อหลุม หมั่นรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช สำหรับการให้น้ำ ให้ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ต่อครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวถั่วแดง สามารเก็บเกี่ยวถั่วแดงได้หลังจาก 60 วันไปแล้ว ฝักของถั่วแดงที่แก่และแห้งสามารถนำไปสีเอาเมล็ดไปใช้ประโยชน์ได้

ถั่วแดงกับการลดความอ้วน

เหตุผลใด ถั่วแดง จึงมีประโยชน์ต่อ การลดน้ำหนัก ถั่วแดงจะมีโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากถั่วแดง เป็นโปรตีน ที่มีลักษณะเด่น คือ ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย และทำให้อิ่มท้อง ไม่ยากรับประทานอาหาร และไม่รู้สกเหนื่อย นอกจากนั้นถั่วแดงช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ประโยชน์เช่นนี้ ช่วยให้ระบบร่างกายลดน้ำหนักได้แบบธรรมชาติ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร พืชที่มีโปรตีนสูง การปลูกถั่วแดง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์ของถั่วแดง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove