ลูกเดือย ธัญพืช สมุนไพร ลักษณะของต้นเดือยเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยบำรุงสมอง โทษของเดือย

เดือย ลูกเดือย สมุนไพร สรรพคุณของลูกเดือย

ต้นเดือย สามารถพบได้ในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดือย ภาษาอังกฤษ เรียก Adlay เดือย ชื่อวิทยาศาสตร์ เรียก Coix lacryma-jobi L ประโยชน์ของลูกเดือย สรรพคุณของลูกเดือย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยบำรุงสมอง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงกระดูก แก้ร้อนใน แก้คลื่นไส้อาเจียน

เดือย สรรพคุณ เช่น ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงปอด ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงมดลูก ช่วยบำรุงไต ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ช่วยขับพยาธิในเด็ก

คุณค่าทางโภชนากการของเดือย

ลูกเดือยให้คุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งนักโภชนาการ ศึกษาพบว่าในเดือย มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีกรดอะมิโน เช่น กรดกลูตามิก ลูซีน อลานีน โปรลีน วาลีน ฟินิลอลานีน ไอโซลูซีน อาร์จีนีน เป็นต้น และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว อย่าง กรดลิโนเลอิก กรดโอเลอิค และกรดไขมันอิ่มตัว เช่น ปาล์มิติก และสเตียริก

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าว เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพาะปลูกมากแถวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเส้นใยอาหารสูง มีลักษณะของต้นคล้ายต้นข้าวโพด ลักษณะของเม็ดจะเป็นสีขาว ออกกลม ๆ รี ๆ รสชาติออกมันเล็กน้อย ลูกเดือยมีทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ ชนิดที่กินได้นั้นจะมีเปลือกผลอ่อนซึ่งเรียกว่าเดือยกิน ปลูกไว้เพื่อใช้ทำเป็นอาหารและยา

หากพูดถึงธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าวนั้นลูกเดือยถือได้ว่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทยอีกด้วย โดยลูกเดือยนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวมีเส้นใยไฟเบอร์สูงลักษณะของต้นคล้ายกับต้นข้าวโพดลักษณะเม็ดจะออกเป็นสีขาวออกกลมๆรีๆ รสชาติของลูกเดือยนั้นจะออกรสหวานมันเล็กน้อยนั่นเอง โดยลูกเดือยนั้นถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยาที่มีความน่าสนใจโดยมีการใช้ในการบำรุงรักษาร่างกายกันยาวนานมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง

ลูกเดือย ถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากซึ่งในลูกเดือยเองนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างเช่นวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินอี อีกทั้งนี้มีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณที่สูงซึ่งรวมทั้งมีกรดอะมิโนจำเป็นอีกหลากหลายชนิดด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วคนจะรู้จักกับลูกเดือยในนามของธัญพืชแต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเดือยให้มากยิ่งขึ้นซึ่งเดือยนั้นถือได้ว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็นช่วยในการปรับสมดุลร่างกายและลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

เดือย ถือได้ว่าเป็น อาหาร สำคัญที่ ช่วยในการบำรุงร่างกาย และ บำรุงกำลัง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยในช่วงพักฟื้นรวมถึงเด็กและผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน ลูกเดือย ยังมี สรรพคุณ ที่ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ผู้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ทั้งยัง ช่วยบำรุงสายตา รวมถึง บำรุงเส้นผม และ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว เดือย ยังเป็น ยาบำรุงร่างกายสำหรับสตรี โดยเฉพาะซึ่งจะ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงมดลูก อีกทั้งยังช่วยในการเหนียวนำให้มีการตกไข่และ แก้อาการสตรีตกข่าวมากผิดปกติ นั่นเอง ถือได้ว่าเดือยนั้นเป็น สมุนไพร ที่สามารถ ใช้บำรุงร่างกาย ที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว

ประโยชน์ของลูกเดือย

  • คุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและวิตามินต่างๆ หลายชนิด ตั้งแต่แคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีกรดอะมิโน กรดไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนวิตามินนั้นมีตั้งแต่วิตามิน A วิตามิน B1 และ B2 รวมถึงวิตามิน E ด้วย
  • ช่วยป้องกันรักษาโรค ด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีในลูกเดือย ทำให้ลูกเดือยนั้นนอกจากจะทำอาหารหวานรับประทานเพื่อความอร่อย แล้วยังมีประโยชน์ในแง่การรักษาสุขภาพ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย
  • แก้อาการร้อนใน คลื่นไส้อาเจียน
  • แก้โรคนอนไม่หลับ และช่วยให้หายอ่อนเพลีย
  • ลดสภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก
  • ช่วยต้านเชื้อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรียและเชื้อรา เหมาะที่คนเป็นโรคกระเพาะ ลำไส้จะรับประทาน
  • บำรุงร่างกายผู้ป่วย ระหว่างพักฟื้น เพราะมีคุณค่าอาหารสูง
  • บำรุงสมองบำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส ไม่เป็นกระ
  • บำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามิน A สูง
  • ป้องกันโรคเหน็บชา เนื่องจากมีวิตามิน B
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
  • ป้องกันโรคเบาหวาน เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสจืด สามารถรับประทานโดยไม่ใส่น้ำตาลก็อร่อยอีกแบบ หรือจะต้มรวมในการหุงข้าวก็ได้
  • รับประทานเป็นประจำ สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดี
  • ใช้บำรุงเลือด เหมาะกับสตรีหลังคลอดบุตร
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน และทำให้มีกระดูกแข็งแรง

ปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพเริ่มมีมากยิ่งขึ้นซึ่งทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งลูกเดือยเองก็ถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีสารอาหารครบถ้วนและเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมดุลให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดีนั่นเองรวมไปถึงรักษาอาการต่างๆและยังช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียเชื้อราหรือว่าเชื้อยีสต์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้มีการนำลูกเดือยมาแปรรูปเป็นอาหารและยาบำรุงร่างกายมากยิ่งขึ้นซึ่งสำหรับการนำมาทำเป็นอาหารนั้นในปัจจุบันลูกเดือยสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวานโดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำเป็นส่วนผสมหลักนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วปัจจุบันก็มีการนำลูกเดือยมาแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบและนำมาทำเป็นขนมหวานเช่นลูกเดือยเปียกเต้าทึงและน้ำลูกเดือยเป็นต้น
วิธีทำน้ำลูกเดือย
ส่วนผสมสำหรับทำน้ำลูกเดือย ประกอบด้วย ลูกเดือย 100 กรัม ธัญพืชตามชอบใจ เม็ดบัว อัลมอนด์ หรืออื่นๆ น้ำตาลทราย น้ำเปล่า 6 ถ้วย

ขั้นตอนการทำน้ำลูกเดือย มีดังนี้  แช่ลูกเดือยไว้อย่างน้อย 1 คืนเพื่อให้ลูกเดือยนิ่ม จากนั้นนำลูกเดือยที่นิ่มแล้ว เติมน้ำลงไป แล้วนำไปปั่น ถ้าเป็นสมัยโบราณจะใช้เครื่องโม่ แต่ยุคปัจจุบันมีเครื่องปั่นไฟฟ้า สามารถกะความหยาบละเอียดได้ตามต้องการ เมื่อปั่นแล้ว ค่อยนำไปกรองเพื่อแยกน้ำกับกากการกรองนั้นขึ้นอยู่กับความชอบว่า ต้องการให้เหลือแต่น้ำลูกเดือยล้วนๆ หรือให้มีกากผสมด้วยนิดหน่อย นำน้ำลูกเดือยที่กรองแล้วไปตั้งบนไฟอ่อน ๆ เติมน้ำตาลทรายลงไป กะความหวานตามชอบ ส่วนใหญ่สาวๆ ไม่นิยมให้หวานนัก เมื่อคนจนน้ำตาลละลายหมดแล้ว จึงยกขึ้นพักไว้ให้ความร้อนคลายตัว แล้วจึงรับประทาน หรือถ้าชอบแบบอุ่นๆ ก็รับประทานได้เรื่อยๆ เหมือนการดื่มน้ำเต้าหู้ได้ทั้งร้อนทั้งเย็นตามชอบ

ขมิ้น สมุนไพร นิยมใช้เหง้านำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นขมิ้น คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น สรรพคุณของขมิ้น เช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม โทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ( Turmaric ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สมุนไพร สรรพคุณของขมิ้น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง

ต้นขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น

เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

  • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

ผลข้างเคียงจากการบิโภคขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

ขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove