ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove