คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove