พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove