มะนาว น้ำจากผลมะนาวมีรสเปรี้ยว สมุนไพรรสเปรี้ยว ต้นมะนาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะนาว เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สมุนไพร คู่ครัวไทย มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงรส สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ต้นมะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime มะนาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Citrus aurantiifolia (Christm) ชื่ออื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง มะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

จากการศึกษามะนาวขนาด 100 กรัม พบว่า ข้อมูลทางโภชนาการของมะนาว ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย เราได้รวบรวมประโยชน์ทางสมุนไพรของมะนาว ดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยในการเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น (Aromatherapy) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

เมื่อพูดถึงมะนาวนั้นหลายหลายคนก็คงจะนึกถึงรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดอีกทั้งยังนึกถึงความเป็นผลไม้รสเปรี้ยวพี่อยู่คู่กับครัวคนไทยมาแต่ช้านาน โดยส่วนใหญ่แล้วมะนาวมักจะถูกนำมาเป็นเครื่องปรุงรถสำหรับการทำอาหารประเภทยำเป็นหลัก ซึ่งรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นมีสรรพคุณที่ดีมากมายนั่นเอง รสชาติเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีจากธรรมชาติที่สูงมากโดยวิตามินซีนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากมีอาการเจ็บป่วยหรืออาการไม่สบายต่างๆนั้นคนโบร่ำโบราณก็จะใช้มะนาวมาช่วยเพื่อบรรเทาอาการนั่นเอง

สรรพคุณของมะนาว นั้นมีมากมายหลากหลายอย่างซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นจะช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการปวดศีรษะช่วยลดอาการอาเจียนเป็นลมวิงเวียนศีรษะหรือแม่กระทั่งแก้เมาเหล้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และยังรวมไปถึงมะนาวนั้นยังมีคุณสมบัติในการช่วยแก้ไอได้เป็นอย่างดีซึ่งหากมีอาการไอแล้วก็สามารถใช้มะนาวผสมกับน้ำผึ้งแล้วก็เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆจะช่วยลดอาการระคายเคืองคออีกทั้งยังช่วยสามารถให้ชุมคอได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อีกครั้งมะนาวนั้นยังมีการนำมาใช้เพื่อการบำรุงผิวและเพื่อความสวยความงามได้เป็นอย่างดีอีกด้วยโดยในน้ำมะนาวนั้นจะมีกรดซิตริกสูง ซึ่งกรดซิตริกนี้จะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่าจะมีผู้คนนำน้ำมะนาวนั้นมาผสมกับดินสอพองเพื่อพอกหน้าเป็นประจำจะช่วยลดเลือนรอยแผลเป็นอีกทั้งยังช่วยลดรอยสิวและลดอาการสิวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วมะนาวยังสามารถนำมาใช้ประกอบการหุงข้าวทำให้ข้าวนั้นขาวและอร่อยมากยิ่งขึ้นโดยการนำน้ำมะนาวเพียงแค่สองถึงสามช้อนชาใส่ลงไประหว่างหุงข้าวนั่นเอง อีกทั้งหากต้องการให้ไข่เจียวมีความฟูและนิ่มขึ้นก็สามารถใช้น้ำมะนาวเพียงสี่ถึงห้าหยดผสมลงไปในไข่พี่เตรียมจะเจียวก็สามารถทำให้ไข่นั้นนุ่มและฟูน่ากินเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นแล้วในเปลือกของผิวมะนาวยังมีน้ำมันหอมระเหยหลากหลายชนิดที่ให้กลิ่นหอมสดชื่นโดยกลิ่นหอมสดชื่นนั้นจะช่วยในการลดอาการวิงเวียนศีรษะและลดอาการปวดศีรษะ อีกทั้งรวมไปถึงสามารถทำให้ร่างกายเกิดความสงบและมีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันนี้มีการแปรรูปมะนาวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอีกทั้งยังรวมไปถึงขนมและของกินเล่นต่างๆมากมายด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาวสำเร็จรูปมะนาวผงและรวมไปถึงมะนาวดองอีกด้วย จึงนับได้ว่ามะนาวนั้นเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณมากมายหลากหลายอีกทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารต่างๆเพื่อสร้างรสชาติอร่อยถูกปากกับคนไทยได้เป็นอย่างดี

สะเดา Siamese neem tree ผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดัน ลดไข้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

สะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา

ต้นสะเดาในประเทศไทย เราพบว่า สะเดาสามารถการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณและป่าแดง ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถพบสะเดาได้ตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถานและศรีลังกา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. ชื่ออื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 7 เมตร ใบของสะเดาเป็นแบบขนนก เรียงสลับใบ ยอดอ่อนของใบมีสีน้ำตาลอมแดง ดอกของสะเดา จะออกบริเวณปลายของกิ่ง และจะดอกสะเดาจะออกเมื่อใบของสะเดาแก่และร่วงไป ดอกสะเดามีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลของสะเดา มีลักษณะเป็นรูปรี กลม

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของสะเดา พบว่า ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ซึ่มประกอบไปด้วยน้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ในใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด รายละเอียด ของ สรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. ในสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

การปลูกสะเดา

สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove