ชะพลู พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของชะพลู

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สมุนไพร พืชล้มลุก สรรพคุณของชะพลู แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาหารปวดเมื่อย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ และขับเสมหะ ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก

ต้นชะพลู มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น ต้นชะพลู มักมีการจำสับสนกับพลูทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบจะรสไม่จัดเท่ากับพลูและยังมีขนาดเล็กกว่า สำหรับสรรพคุณของชะพลูที่สำคัญนั้นก็ได้แก่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

นักโภชนาการได้ศึกษา ประโยชน์ทางโภชนาการของชะพลู พบว่า ในชะพลู 100 กรัม จะมี โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัม ใยอาหาร 6.9 กรัม

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว

สรรพคุณของชะพลู

เราพบว่าชะพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทุกส่วน รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด

ประโยชน์ของชะพลู

ใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ข้อควรระวังในการบริโภคชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

ชะพลูเป็นผักสมุนไพร ที่ใช้บริโภค ช่วยขับลมได้ดี เราได้รวมสมุนไพรอื่นๆที่ช่วยขับลมได้ มีดังนี้

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
ส้มแขก สมุนไพร สรรพคุณของส้มแขก ประโยชน์ของส้มแขกส้มแขก
ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณของว่านชักมดลูก ประโยชน์ของว่านชักมดลูกว่านชักมดลูก
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
สะเดา ผักสะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาสะเดา
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ ชมจันทร์
ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สรรพคุณของว่านมหาหงส์ ประโยชน์ของว่านมหาหงส์ว่านมหาหงส์

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove