เชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) ติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ทำให้คันอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ช่องคลอดบวมแดง แสบตอนฉี่ เจ็บตอนมีเซ็กซ์ เชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด จัดเป็นโรค ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมีกเกืดร่วมกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆ อาทิ โรคเริม โรคเอดส์ เป็นต้น รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดโรค คือ เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) เป็นเชื้อราที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของสตรีนั้นไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้นแล้ว โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

รวมถึงความอับชื้นที่อวัยวะเพศนานๆ ก็จะทำให้เชื้อราเกิดโรค เช่น การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย การใส่กางเกงยีนส์ที่คับๆ การอยู่ในที่ร้อนชื้นนานๆ การล้างช่องคลอดอย่างไม่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

สามารถสรุป ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด ประกอบด้วย

  • การตั้งครรภ์ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น น้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
  • ภาวะการเกิดโรคเบาหวาน
  • การได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้ขาดภาวะความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด
  • การกินยาสเตียรอยด์ ทำให้กดภูมิต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง
  • การใช้กางเกงที่คับ อับ และ ชื้น นานๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อราในช่องคลอด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นจะมีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ คันที่อวัยวะเพศ และ คันในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ โดยมีลักษณะขาวข้น หรือ สีเหลืองนวล ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง ช่องคลอดเปื่อยยุ่ยเป็นขุย มีฝ้าขาวที่ช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ สามารถสรุปอาการ ได้ดังนี้

  • คันอย่างรุนแรงที่ปากช่องคลอด
  • คันอย่างรุนแรงภายในช่องคลอด
  • เจ็บเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะสีขาวข้น หรือ ขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
  • ปากช่องคลอดบวมแดง
  • เกิดผื่นแดงที่ช่องคลอดทั้งภายในและภายนอก และผื่นแดงสามารถกระจายไปบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือ ต้นขา ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นมีภาวะการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆไม่มาก แต่การเกิดโรคแทรกซ้อนจเกิดกับแผลถลอก ซึ่งมีดอกาสในการติดเชื้ออื่นๆได้อีก จนเกิดโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด โดยการซักประวัติการตกขาว ตรวจภายใน และ นำสารคัดหลั่งไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูเชื้อโรคที่เป็นสาเกตุของการเกิดโรค

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นแพทย์จะทำการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาด้วยการฆ่าเชื้อรา และ การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ เช่น รักษาเบาหวาน เป็นต้น โดยแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อรา เป็นยาสอดทางช่องคลอด ในกลุ่ม imidazole derivatives หรือ ให้ยาชนิดรับประทานกลุ่ม Ketoconazole , Polyene antibiotics หรือ Itraconazole
  • ให้ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • รักษาโรคอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด นั้นเราต้องทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคก่อน ซึ่งเราจะสรุปแนวทางกการป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • ไม่สวมกางเกงที่รัดแน่น และ อับชื้น โดยไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • หลีกเลี้ยงการสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ต จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ในช่่วงมีประจำเดือน

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) ทำให้คันที่อวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ มีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ การรักษาโรค และ การป้องกันทำอย่างไร

โลน เหาที่อวัยวะเพศ ภาวะการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง อาการคันในที่ลับ มีไข้ ไม่มีแรง มีรอยจ้ำเล็กๆที่อวัยวะเพศ ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เหมือนเป็นเหาธรรมดาโลน มีเหาที่หี มีเหาที่หำ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โลน ภาษาอังกฤษ เรียก Pediculosis Pubis หรือเรียกสั้นๆว่า Pubic Lice จัดว่าเป็นแมลงชนิดหนึ่งในกลุ่มปรสิต ที่มีขนาดเล็กนิยมเกาะกลุ่มอาศัยอยู่กับร่างกายของมนุษย์ โดยพบได้มากที่สุด คือ บริเวณอวัยวะเพศ ตัวโลน สามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ระยะการเจริญเติบโตของตัวโลน นั้นมีทั้งหมด 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และ ระยะตัวเต็มวัย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โลนระยะเป็นไข่ เรียกว่า Nit ไข่ของโลนมีระยะในการฟักตัว ประมาณ 6 ถึง 10 วัน โดยไข่โลนจะเกาะตามเส้นขน มีลักษณ์ขนาดเล็กมาก แทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเลย ไข่ของโลนจะมีสีขาว หรือ สีเหลือง
  • โลนระยะตัวอ่อน เรียกว่า Nymph ในระยะตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 14 ถึง 21 วัน เมื่อตัวอ่อนฟักตัว ก็จะอาศัยอยู่ที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยดูดเลือดของมนุษย์เป็นอาหาร
  • โลนระยะตัวเต็มวัย เรียกว่า Adult หลังจากโลนโตเต็มวัยแล้ว จะตายภายใน 2 วัน ซึ่งลักษณะของโลนเต็มวัย นั้นจะมีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีเทาอ่อน ๆ มี 6 ขา ขาหน้า 2 ขา จะมีลักษณะคล้ายก้ามปู และตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

สาเหตุของการเกิดโลน

การติดต่อโลน นั้นเกิดจากการสัมผัสกับคนที่มีโลนเกาะที่ร่างกาย ส่วนมากแล้วจะเกิดการสัมผัสจากการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งการกอด จูบ ถูไถ ซึ่งเมื่อโลนเข้ามาเกาะอยู่ที่ร่างกายของมนุษย์ จะเกิดการขยายพันธ์ และดำรงชีวิตด้วยการกินเลือดของมนุษย์ สำหรับการติดโลนนั้น ไม่สามารถป้องกันการติดโลนได้ด้วยการสวมถุงยาง หรือ กินยาคุมกำเนิด

โลนนั้นพบมากในผู้ใหญ่ หลายคนมีความเข้าใจที่ผิดว่า การติดโลนเกิดจากการไม่ดูแลบริเวณอวัยวะเพศ ให้สะอาด แต่จริงๆแล้ว การรักษาความสะอาดก็สามารถติดโลนได้ แต่เนื่องจากโลนจะดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหาร ทำให้ร่างกายถูกดูดเลือด และ มีโอกาสการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นอันตรายในชีวิต

อาการของโลน

เมื่อโลนเริ่มติดต่อจากคนสู่คน สิ่งที่อาการจะมองเห็นอย่างชัดเจน คือ อาการคันบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงทวารหนักด้วย รวมไปถึงบริเวณร่างกายของมนุษย์ที่มีขน เช่น ใต้รักแร้ ขนขา ขนหน้าอก ขนท้อง ขนที่หลัง หนวด เครา คิ้ว หรือขนตา นอกจากอาการคันแล้ว อาการความผิดปรกติต่างๆ สามารถสังเกตุได้ ประกอบด้วย

  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • รุ้สึกหงุดหงิด มีอารมณ์ฉุนเฉียว
  • อ่อนแรง
  • มีรอยช้ำเล็ก ๆ ตามผิวหนัง
  • มีผงสีดำติดกางเกงใน
  • อาจมีแผล จากการติดเชื้อด้วย

การวินิจฉัยโลน

สำหรัยการวินิจฉัยว่าเราติดโลนหรือไม่นั้น สังเกตุจากบริเวณที่มีขนของร่างกาย ว่ามีไข่โลนหรือตัวโลนหรือไม่ อาจใช้แว่นขยายส่องหาตัวโลน และไข่ของโลน

การรักษาโลน

การรักษาโลน สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ แชมพู โลชั่น หรือ ครีม ที่มีฤทธิ์กำจัดโลนหรือเหา ซึ่งตัวยา ได้แก่ เพอร์เมทริน ( Permethrin ) ซึ่งมีวิธีการใช้ ดังต่อไปนี้

  • ให้ทายาบริเวณที่มีอาการคัน และบริเวณที่มีขน เช่น บริเวณอวัยวะเพศ คิ้ว หนวด เครา
  • ยาบางชนิด ต้องทาทิ้งไว้ และล้างออกหลังจากทาครบกำหนดเวลา แล้วล้างออกให้สะอาด
  • การรักษาด้วยยา ดังนั้น ควรใช้ซ้ำเพื่อกำจัดตัวโลนที่เพิ่งออกมาจากไข่ แต่หากใช้ยาซ้ำเป็นครั้งที่ 2 แล้วอาการยังไม่ทุเลาลง

หากการรักษาไม่ได้ผล ควรกลับไปปรึกษาแพทย์ และไม่ควรใช้ยาซ้ำเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ เช่น ผิวหนังระคายเคือง มีอาการคัน ผิวหนังแดง หรือปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโลน

การเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดโลน นั้มมีหลายอาการ ดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง อาการคันทำให้เกิดการเกา และเกิดแผล ซึ่งเมื่อร่างกายมีแผลสามารถทำให้เชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
  • การติดเชื้อที่ดวงตา หากโลนไปเกาะที่ขนคิ้วหรือขนตา ทำให้เกิดการระคายเคืองทำให้ตาอักเสบได้

การป้องกันโลน

การป้องกันการติดโลนนั้น สามารถป้องกันได้จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ีทำให้ติดโลน โดยรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโลน หรือ คนที่เราไม่มั่นใจว่าสะอาดเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับคนที่มีโลน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องนอน เป็นต้น
  • ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโลน
  • หลีกเลี่ยงการลองชุดในห้างสรรพสินค้า

โลน หรือ เหาที่อวัยวะเพศ ภาวะการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง อาการคันในที่ลับ มีไข้ ไม่มีแรง มีรอยจ้ำเล็กๆที่อวัยวะเพศ อาจติดโลนได้ ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เหมือนเป็นเหาธรรมดา วิธีกำจัดโลนว่าทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove