กลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ อักเสบผิวหนัง เป็นวงสีแดง มีขุยสีขาว ติดต่อจากการสัมผัส การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไรโรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคกลาก ภาษาทางการแพทย์ เรียก Ringworm คือ โรคติดต่อ จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งกลากสามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หนังหัว ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และ ขาหนีบ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบในเด็กมากที่สุด โรคกลาก หากเกิดกับเด็กจะพบว่ามีกลากขึ้นที่ศีรษะมากที่สุด แต่หากเป็นผู้ใหญ่พบว่ากลากขึ้นมากที่เท้า ส่วนในผู้ชายวัยรุ่นมักพบกลากขึ้นที่ขาหนีบ

สาเหตุของการเกิดโรคกลาก

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราอาศัยอยู่บนผิวหนัง ส่วนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว  เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็กๆ อาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ หรือ พื้นดิน สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราสามารถติดต่อสู่คนโดยการสัมผัส

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก

โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก คือ กลุ่มคนที่เหงื่อออกง่าย ทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาด และ อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและมีความชื้นสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้ ประกอบด้วย

  • เด็กอ่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตราฐาน
  • กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี คนที่ผ่านการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีประวัติเคยติดเชื้อราที่ผิวหนังมาก่อน
  • กลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกลาก

สำหรับอาการของโรคกลาก คือ เกิดผื่นแดงหรือผื่นสีขาวเป็นขุย ลักษณะเป็นวงกลม มีอาการคัน สามารถลามไปสู่ผิวหนังส่วนต่างๆได้ และ ติดต่อสู่คนอื่นได้ โดยจุดที่มักเกิดกลาก คือ หนังศรีษะ ผิวหนัง เล็บ ขาหนีบ และ เท้า โดยลักษณะของอาการกลากในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • กลากที่หนังศีรษะ จะพบว่าที่หนังศีรษะจะเป็นจุดๆสีขาวตกสะเก็ด คันที่หนังศีรษะ ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมราตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศรีษะ ซึ่งสามารถเป็นแผลขนาดใหญ่ได้
  • กลากที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะคันรอบๆแผลที่อักเสบ ลักษณะของแผลจะเป็นขอบชัดเจน และ สีแดง บางรายแผลเป็นวงขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองขึ้นได้
  • กลากที่เล็บ ผู้ป่วยจะมีลักษณะเล็บมีสีขาวขุ่น เล็บหนาขึ้น และ เล็บเปราะหักง่าย รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่นิ้วบริเวณผิวหนังรอบเล็บ
  • กลากที่ขาหนีบ เกิดผื่นแดง และ คัน ที่ผิวหนังที่ขาหนีบ ทำให้ผู้ป่วยเกาจนเกิดแผล เรียกว่า โรคสังคัง ซึ่งผิวหนังที่ขาหนับอาจตกสะเก็ด มีตุ่มหนอง ตุ่มพอง
  • กลากที่เท้า มีอาการคันที่เท้าบริเวณง่ามนิ้ว อาจมีตุ่มหนอง และ ตุ่มพอง จนทำให้รู้สึกเจ็บ เรียกอาการนี้ว่า ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า

การรักษาโรคกลาก

สำหรับการรักษาโรคกลาก คือ แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อรา เป็นการให้ยาทา เพื่อรักษาอาการคัน และ ฆ่าเชื้อรา โดยต้องใช้ประมาณ 15-30 วัน จนกว่าจะฆ่าเชื้อราได้หมด แต่การรักษาโรคกลาก นั้น นอกจากจะใช้ยาทาในการรักษา ตัวผู้ป่วยเอง ต้องปรับสุขอนามัยพื้นฐานของตนเอง ไม่ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่าน หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นที่มีเชื้อรา ทำความสะอาดเครื่องนอน ทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง

สำหรับการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟูลวิน ( Griseofulvin ) โดยต้องรับประทานประมาณ 3 เดือน ส่วนการรักษาเชื้อราที่เล็บ ต้องรักษาสุขอนามัย ของมือและเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก คือ หากเชื้อราแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน อาจทำให้เกิดความรุนแรง และ รักษาให้หายยากขึ้น การลุกลามของกลาก จากจุดหนึ่งไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลต่อบุคคลิกภาพที่เสีย ทำให้สังคมรังเกรียจ ไม่อยากเข้าใกล้

การป้องกันโรคกลาก

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกลาก นั้นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคกลาก และ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สะอาด เพื่อลดการเกิดเชื้อรา โดยแนวทางการปฏิบัตเพื่อป้องกันโรคกลาก มีดังนี้

  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน และ เช็ดตัวให้แห้ง หากสระผมต้องทำให้ผมและหนังศรีษะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่อับชื้น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยโรคกลากด้วย
  • ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนรวม ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ให้อับชื้นเป็นที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคกลาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นกลาก
  • หมั่นตัดเล็บมือเล็บเท้า และ ทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมร้องเท้าที่มีความอับชื้น
  • เช็ดร่างกายให้แห้งหลังจากอาบน้ำโดยเฉพาะส่วนขาหนีบ และ ที่สำคัญสวมกางเกงชั้นในที่สะอาด แห้ง ไม่นำกางเกงชั้นในเก่าที่ยังไม่ซักมาใช้งานซ้ำ

โรคกลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) คือ ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ โดยเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นวงสีแดงหรือ มีขุยสีขาว โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสได้ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove