มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) เนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เกิดกับตับและอวัยวะภายในช่องท้อง พบมากในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็ง ตัวเหลืองตาเหลือง กินปลาดิบ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทยจากโรคมะเร็ง โรคนี้พบมากในภาคอีสาน เนื่องจากการนิยมการกินปลาดิบ จนเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น

เมื่อคนกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี และอยู่ได้นานถึง 20 ปี ดังนั้น โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี หากพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ยังไม่มีการศึกษาได้สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคอย่างชัดเจนนัก แต่พบว่าการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังที่ท่อน้ำดี มีผลทำให้เซลล์ของเยื่อบุผิวท่อน้ำดีเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยพบว่ามีโรค ดังต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงการเกิดอักเสบของท่อน้ำดี คือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคพยาธิใบไม้ในตับ และ ความผิดปรกติของท่อน้ำดีจากกรรมพันธ์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี นั้นสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีในตับ ลักษณะของโรคคล้ายมะเร็งตับ การวินิจฉัยโรคมักถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ
  • มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งชนิดนี้จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี จากการที่มีท่อน้ำดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย ซึ่งผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น มีปัจจัยเสี่ยงการการกินอาหารที่มีให้เกิดผลกระทบต่อตับ สำหรับปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้

  • การเกิดโรคภาวะท่อน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง
  • การเกิดโรคที่ระบบทางเดินของท่อน้ำดี
  • การเกิดนิ่วที่ตับ
  • กรรมพันธุผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ ถุงน้ำดีผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับระยะการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี นั้น มี 4 ระยะ คือ ระยะลุกลามเฉพาะท่อน้ำดี ระยะลุกลามออกนอกท่อน้ำดี ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็ก และ ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือกขอนาดใหญ่และกระแสเลือด

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ลักษณะของอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี อาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับ ซึ่งในระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการให้เห็น และ จะแสดงอาการเมื่อโรคเริ่มมีการลุกลามแล้ว โดยสามารถสังเกตุอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  • มีอาการไม่สบายท้อง อึดอัดและแน่นท้อง
  • ปวดท้องส่วนบนบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการปวดหลังและปวดไหล่
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามตัวทั่วร่างกาย
  • อุจจาระมีสีซีด
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีก้อนโตที่หน้าท้อง

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี นั้นการพิจารณารักษามีปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดของมะเร็ง ตำแหน่งของมะเร็ง และ ลักษณะของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และ การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพและกำลังใจผู้ป่วยด้วย โดยการรักษาใช้การผ่าดัด และเคมีบำบัด ควบคู่กันได

  • การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะผ่าตัดเนื้องอก และผ่าตัดระบายท่อน้ำดี ผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้แต่ในขณะที่ผ่าตัดพบว่าระยะโรคไม่สามารถผ่าตัดออกได้ ควรได้รับการผ่าตัดระบายท่อน้ำดีเพื่อรักษาอาการคันและตัวเหลืองตาเหลือง
  • เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้หมด หรือใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด

การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ต้องลดโอกาสเกิดโรคที่ตับ เป็นหลัก โดยรายละเอียดดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • เลิกกินปลาน้ำจืด ที่ปรุงแบบสุกๆดิบๆ
  • คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ต้องระวังการติดเชื้อโรคและการติดพยาธิ
  • ควรพบแพทย์ขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ เป็นประจำทุกปี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) คือ ภาวะการเกิดก้อนเนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่เกิดกับตับ และ ระบบอวัยวะภายในช่องท้อง โรคนี้พบมากในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบๆ

แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove