มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง
โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus ) แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16 (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น
ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก
สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้
- ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
- ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด
อาการของโรคปากเท้าเปื่อย
โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้
- เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
- บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
- มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
- ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
- มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
- มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้
แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก
สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
- รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
- ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
- สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
- ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด
โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง