ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ช่วยขับลม และ ลดน้ำตาลในเลือดได้ดี ลักษณะของต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู และ โทษของชะพลูมีอะไรบ้าง

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ เป็นต้น ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก ชะพลู เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค ดอกชะพลูช่วยขับลม ทำให้เสมหะแห้ง รากชะพลูช่วยขับเสมหะ ใบทำให้เจริญอาหาร ทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวานได้ ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะชวาและหมูเกาะมาเลย์

ประโยชน์ของชะพลู ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

นอกจากนนั้นชะพลูสามารถใช้รักษาโรคได้ เช่น ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์การแยกหน่อและการปักชำ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู ลักษณะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปมๆ แตกกอออกเป็นพุ่ม
  • ใบชะพลู ลักษณะเป็นใบดี่ยว ก้านใบยาวประมาณ 3 เซ็นติเมตร ใบมีสีเขียวสด ใบคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอกชะพลู ลักษณะดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว ดอกแก่จะออกสีเขียว ดอกจะแทงดอกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู เจริญเติบโตจากช่อดอก ผลสีเขียว ผิวมัน ดอกมักออกมากในฤดูฝน

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

สำหรับการกินชะพลูเป็นอาหารนิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาใบชะพลูขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัมและการใยอาหาร 6.9 กรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะพลูด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้นใบและ ดอก รายละเอียด ดังนี้

  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด
  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้

โทษของชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะระ สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมรับประทานผลมะระเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม รักษาเบาหวาน สำหรับโทษของมะระมีอะไรบ้างมะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ สมุนไพรไทย

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น ผลมะระมีรสขมเป็นเอกลักษณ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา  มะระมีการปลูกกันในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกมากในภาคเหนือ

มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายที่มีมะระเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ยำมะระกุ้งสด มะระผัดไข่ หรือทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine เป็นสารที่มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การนำมะระมารับประทาน ไม่ควรรับประทานผลมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้

ประโยชน์ของมะระ รากเป็นยาบำรุง ใช้สมานแผลได้ เถาเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยเจริญอาหาร ใบช่วยดับพิษร้อน ขับพยาธิ ขับลม ผลมะระใช้ขับลม แก้อักเสบ ขับพยาธิ เจริญอาหาร สำหรับด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยมะระ พบว่า มะระมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ช่วยระบาย และฆ่าเชื้อ การแพทย์ทางเลือกของสหรัฐอเมริกานำน้ำคั้นจากผลมะระ ใช้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด
  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

การรับประทานมะระเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลสดของมะระเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

นอกจากนั้นผลมะระยังมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการบำรุงและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จากผลมะระ เถามะระ เมล็ดมะระ รากมะระและใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว
  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove